รีโนเวทบ้านร้างอายุ 30 ปี ให้เป็น Cooking Studio

เปลี่ยนบ้านชั้นเดียวขนาดกะทัดรัดเก่ากว่า 30 ปีของคุณให้กลายเป็นสตูดิโอทำอาหารและพื้นที่ใช้สอยที่โดดเด่น 75 ตรม. ที่ผสมผสานการทำงานและความงามที่เรียบง่ายได้อย่างลงตัว

กล้วยน้ำไทยไมโครเฮาส์ บ้านร้างอายุ 30 ปีที่ได้รับการรีโนเวทใหม่

Too Architects จะขอพาท่านผู้อ่านทุกท่านมาดูขั้นตอนการรีโนเวทบ้านเก่าชั้นเดียว อายุกว่า 30 ปี ที่เจ้าของนั้นมีความต้องการที่จะปรับปรุงบ้านหลังนี้ให้เป็น Cooking Studio สำหรับสอนทำอาหารและและมีพื้นที่สำหรับพักอาศัยอยู่บริเวณชั้นบน

KMCH House

กล้วยน้ำไทยไมโครเฮาส์

บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ในย่านกล้วยน้ำไท ซึ่งเป็นย่านที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และเป็นย่านที่มีการประกอบธุรกิจขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก เนื่องด้วยราคาที่ดินต่อตารางวาที่สูงทำให้เรามักจะเห็นรูปแบบการใช้พื้นที่พักอาศัยผสมรวมกับพื้นที่ทำธุรกิจขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก และยังตอบโจทย์สำหรับวิถีชีวิตคนเมืองที่ “ที่พักอาศัย” และ “ที่ทำงาน” อยู่ในที่เดียวกันได้อย่างดี

ด้วยข้อจำกัดทางพื้นที่ของบ้านหลังนี้ที่มีขนาดเล็ก และความต้องการที่จะเพิ่มฟังก์ชั่นพื้นที่ครัวขนาดใหญ่เข้าไปในบ้านสำหรับทำเป็น Cooking Studio จึงเป็นโจทย์ที่ยากและท้าทายสำหรับทางทีมงานของเรา ทั้งนี้งานออกแบบและก่อสร้างอาคารที่เสร็จสมบูรณ์นั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าขาดการร่วมงานกันอย่างต่อเนื่องระหว่างทีมงานของเราและเจ้าของบ้านตั้งแต่ต้นจนจบ เพราะเราเชื่อในแนวคิดการทำงานที่ว่า “เจ้าของบ้าน” ไม่ใช่ลูกค้าแต่เป็น “เพื่อนร่วมงาน” ที่เราจะสื่อสารและประสานงานกันอยู่ตลอดเวลา

จาก “แนวคิด” ถึง “การก่อสร้าง”

โจทย์ที่ทางเจ้าของบ้านให้มานั้นคือต้องการพื้นที่ครัวที่ใหญ่ ใช้งานได้ดีสำหรับการทำอาหารและขนม ไปจนถึงการสอนคนที่มาเข้าคอร์ส และพื้นที่พักอาศัยที่ขนาดไม่ต้องใหญ่มากให้เพียงเข้าพักอยู่ได้ แต่ด้วยขอบเขตของบ้านเดิมที่มีขนาดเพียง 5 เมตร x 10 เมตร ทำให้ทีมงานออกแบบต้องเพิ่มพื้นที่ชั้นลอยเข้าไปในบริเวณตัวบ้าน โดยแบ่งพื้นที่ครัวไว้ที่ชั้นล่าง และพื้นที่พักอาศัยไว้ที่ชั้นลอย ซึ่งการแบ่งแยกนี้ยังเป็นการเพิ่ม “Privacy” ของพื้นที่ไปในตัว

ทำไมการรีโนเวทนั้นไม่ยากอย่างที่คุณคิด ?

บ้านหลังนี้นับเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับผู้ที่มีบ้านหรืออาคารเก่าและต้องการจะรีโนเวทเพื่อจุดประสงค์ใดๆ ก็ตาม ไม่ว่าเป็นสำหรับการพักอาศัยหรือการประกอบธุรกิจ เป็นเรื่องธรรมดาที่อาคารเก่านั้นมีปัจจัยหลายอย่างที่ซับซ้อนและสภาพเดิมที่ต้องการการซ่อมแซมอย่างละเอียด แต่เพียงแค่การเข้าใจขั้นตอนต่างๆ ก่อนเริ่มงานรีโนเวท ตั้งแต่การศึกษาสภาพอาคารเดิม การออกแบบ ไปจนถึงการก่อสร้างที่ปลอดภัย ก็จะทำให้งานรีโนเวทไม่ยากอย่างที่คุณคิด

Too Architects จะขอนำทุกท่านไปดูขั้นตอนการรีโนเวทบ้านหลังนี้อย่างละเอียดในทุกๆ ขั้นตอน ทั้งแต่ต้นจนจบ ทั้งหมด 13 ขั้นตอน รวมถึงอธิบายข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทั้งในเรื่องการออกแบบ การก่อสร้าง งานระบบและการเลือกใช้วัสดุ ที่สามารถนำไปใช้กับอาคารเก่าของทุกท่านได้

13 ขั้นตอนรีโนเวทบ้านเก่า

ตัวอย่างผลงานโครงการบ้านขนาดเล็ก กล้วยน้ำไทยไมโครเฮาส์

  1. การศึกษาสภาพอาคารดั้งเดิม
  2. การออกแบบและการเขียนแบบ
  3. การรื้อถอนอาคารเดิม
  4. การทำ Shop Drawing
  5. งานก่อสร้างประเภทงานโครงสร้าง
  6. งานก่อสร้างประเภทงานสถาปัตยกรรม (ผนัง)
  7. งานระบบไฟฟ้า ประปาและสุขาภิบาล
  8. งานก่อสร้างประเภทงานสถาปัตยกรรม
  9. งานก่อสร้างประเภทงานสถาปัตยกรรม (บันได,ราวบันไดและราวกันตก)
  10. งานก่อสร้างประเภทงานสถาปัตยกรรม (Finishing)
  11. งานติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ
  12. งาน Built-in
  13. ส่งมอบงาน

การศึกษาสภาพอาคารเดิม

การศึกษาสภาพเดิมของอาคารคือหัวใจที่สำคัญที่สุดสำหรับงานรีโนเวททุกงาน เปรียบเสมือนการกลัดกระดุมเม็ดแรก ถ้าเรากลัดกระดุมเม็ดแรกผิด เม็ดถัดไปก็จะผิดทั้งหมด เนื่องจากอาคารเก่านั้นมีสภาพความทรุมโทรมที่ต่างกัน ซึ่งจะส่งผลกับความแข็งแรงและความปลอดภัยของโครงสร้างที่เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในงานก่อสร้าง เจ้าของอาคารเก่าที่มีความต้องการจะรีโนเวททุกท่าน จึงต้องศึกษาสภาพเดิมของอาคารให้ดี และจะดีมากกว่าถ้าปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในงานรีโนเวทโดยตรง

Check list ที่ต้องรู้สำหรับการศึกษาสภาพอาคารเดิม

Check list ที่สำคัญสำหรับการศึกษาสภาพอาคารเดิมจะมีทั้งหมด 4 ข้อ คือ

  1. โครงสร้างเดิมของอาคาร - เจ้าของอาคารจะต้องดูว่าจุดใดของโครงสร้างที่ทรุมโทรมมากและต้องทำการเสริมโครงสร้าง จุดใดใช้งานได้ดี จุดใดต่อเติมได้หรือไม่ได้ จุดใดรื้อได้หรือไม่ได้
  2. งานก่อสร้างประเภทสถาปัตยกรรมของอาคาร – เจ้าของอาคารจะต้องดูส่วนต่างๆ ของอาคารที่ชำรุด มีรอยแตกรั่ว บริเวณผนัง พื้นและหลังคา ความชื้นที่เกิดขึ้นที่อาจจะส่งผลต่อการก่อสร้างอาคารในอนาคต ไปจนถึงส่วนใดก็ตามของอาคารที่ต้องการจะเก็บไว้ ซึ่งข้อนี้จะเป็นการช่วยประหยัดงบประมาณของเจ้าของบ้านได้พอสมควรเลยทีเดียว
  3. งานระบบประปาและสุขาภิบาล – เจ้าของอาคารจะต้องดูระบบในภาพรวมว่า ท่อส่วนใดชำรุด ไม่ว่าจะเป็นท่อน้ำดีและน้ำเสีย ไปจนถึงการเก็บน้ำของอาคาร การระบายน้ำเสีย ถังบำบัดน้ำ และการเข้าซ่อมแซมที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่ออาคารเสร็จสมบูรณ์และมีการใช้งานเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน
  4. งานระบบไฟฟ้า – เจ้าของอาคารจะต้องดูระบบในภาพรวมว่าระบบการเดินไฟฟ้าของเดิมนั้นใช้งานได้อยู่หรือไม่ มีจุดใดที่ไฟรั่ว ไปจนถึงการเชื่อมไฟเข้ามาในตัวบ้านว่าจะเกิดขึ้นในบริเวณใดของบ้าน

โครงสร้างเดิมของอาคารมีผลอย่างไรต่อการออกแบบและการรีโนเวท

หลังจากการศึกษาโครงสร้างเดิมอย่างดีแล้ว โดยทั่วไปผู้ออกแบบจะนำข้อมูลนี้ไปใช้ในการออกแบบ สิ่งที่สำคัญที่สุดคืองานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรมหรืองานระบบต่างๆ นั้นสามารถเพิ่มเติมได้มากกว่า แต่ในทางกลับกันสิ่งที่เจ้าของอาคารต้องคำนึงก็คือ โครงสร้างคือข้อจำกัดของงานก่อสร้าง งานรีโนเวทนั้นไม่ใช่การสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมา แต่เป็นการเปลี่ยนโฉมของเก่าที่มีข้อจำกัดให้สวยงามและตอบโจทย์ที่สุดเท่าที่ขอบเขตของมันจะเป็นไปได้

งานระบบเดิมของอาคาร

ผนังเบาสมาร์ทบอร์ดจะเป็นส่วนที่เลือกใช้ในพื้นที่อื่นที่ไม่ใช่ห้องน้ำ โดยเลือกใช้ที่ความหนา 8 มม. สำหรับผนังภายใน และความหนา 10 มม. สำหรับผนังภายนอก ยึดติดด้วยโครงเคร่าสำเร็จรูปตัว U และตัว C ผนังเบาสมาร์ทบอร์ดมีน้ำหนักเบา แข็งแรง มีความเหนียวและยืดหยุ่น ไม่มีปัญหาเรื่องปลวก และทนต่อความชื้นทั้งภายในและภายนอกได้ดี

โดยส่วนมากในงานรีโนเวทอาคารที่เก่ามากๆ มักจะเดินระบบไฟฟ้ากับประปาและสุขาภิบาลใหม่ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพเดิมของงานระบบที่ยังใช้งานได้ดีอยู่หรือไม่ วัสดุที่อาจจะชำรุด แต่โดยทั่วไปแล้วการเดินระบบของอาคารใหม่ไม่ได้เป็นเรื่องที่เจ้าของบ้านต้องกังวลมากนัก

สภาพแวดล้อมและบริบทโดยรอบของอาคารเก่า

สภาพแวดล้อมและบริบทโดยรอบของอาคารเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากต่อการก่อสร้าง เพราะอย่างที่เราทราบกันดีว่าในแต่ละพื้นที่มีบริบทที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ถนนทางเข้าหน้างานที่หน้ากว้างแคบ ไม่มีพื้นที่วางวัสดุก่อสร้าง หรือแม้กระทั่งเรื่องโครงสร้างที่มีผนังร่วม ที่เรามักจะพบมากในการรีโนเวทตึกแถว ทั้งนี้การศึกษาสภาพหน้างานที่ดี จะส่งผลให้การวางแผนงานก่อสร้างเป็นไปได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น  

การออกแบบและการเขียนแบบ

เมื่อเจ้าของอาคารและผู้ออกแบบรับรู้เรื่องสภาพเดิมของอาคารแล้ว การออกแบบจะเป็นขั้นตอนต่อไป ซึ่งผู้ออกแบบจะต้องทำงานภายใต้ข้อจำกัดของโครงสร้างเดิม ที่จะเป็นการเปลี่ยนโฉมของเก่าที่มีข้อจำกัดให้สวยงามและตอบโจทย์เจ้าของอาคารมากที่สุดเท่าที่ขอบเขตของมันจะเป็นไปได้

รับ Brief และความต้องการของลูกค้า

ทีมงานออกแบบของเราได้รับบรีฟมาจากเจ้าของบ้านที่ต้องการจะปรับปรุงบ้านหลังนี้ให้เป็น Cooking Studio สำหรับสอนทำอาหาร มีพื้นที่ครัวที่ใหญ่ ใช้งานได้ดีสำหรับการทำอาหารและขนม ไปจนถึงการสอนคนที่มาเข้าคอร์สเรียนทำอาหาร และพื้นที่พักอาศัยที่ขนาดไม่ต้องใหญ่มากให้เพียงแค่เจ้าของบ้านสามารถเข้าพักอยู่ได้อย่างสบาย

ทำ Shop Drawing ของสภาพอาคารเดิม

การทำ Shop Drawing คือการนำข้อมูลสภาพเดิมอาคารมาเขียนเป็นแบบก่อสร้าง ที่ผู้ออกแบบจะใช้ยึดเป็นหลักสำหรับการออกแบบในขั้นตอนต่อไป Shop Drawing จะแสดงระยะต่างๆ ของอาคารเก่า โครงสร้าง วัสดุต่างๆ ไปจนถึงส่วนที่ทรุดโทรมที่เป็นปัญหาของอาคารเก่า ซึ่งผู้ออกแบบยังสามารถเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในอาคารเก่าผ่าน Shop Drawing ได้อีกด้วย

กระบวนการออกแบบ

ทีมงานออกแบบของ Too Architects ได้นำ Shop Drawing ของบ้านเก่าหลังนี้มาพิจารณา โดยเลือกที่จะเก็บโครงสร้างเสาคอนกรีตเสริมเหล็กไว้ และนำมาเป็นเกณฑ์สำคัญในการออกแบบต่อไป ซึ่งจะใช้โครงสร้างเดิมเป็นพื้นฐานและเพิ่มส่วนของโครงสร้างใหม่ที่เน้นการใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบาและแข็งแรง

การออกแบบ Space และ Function การใช้งาน

“Space” และ “Function” ของบ้านหลังนี้ได้มีการแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ 1. พื้นที่ “Public” ที่เป็นพื้นที่สำหรับ Cooking Studio ที่ใช้ในการทำกิจกรรมสอนทำอาหาร มีห้องครัวที่มีพื้นที่รองรับอุปกรณ์ครัวต่างๆ ได้ มีห้องน้ำสำหรับลูกค้าและพื้นที่ซักล้างอยู่ด้านหลังของอาคาร และ 2. พื้นที่ “Private” เป็นพื้นที่พักอาศัยสำหรับเจ้าของบ้านอยู่บริเวณชั้นลอย ซึ่งจะประกอบไปด้วยพื้นที่ห้องนอน ห้องน้ำส่วนตัว ที่เก็บของ และบริเวณนั่งเล่นขนาดเล็ก ซึ่งจะขึ้นมาจากบันไดชั้นล่าง ที่แบ่งแยกพื้นที่ของเจ้าของบ้านและพื้นที่ประกอบธุรกิจอย่างชัดเจน

ส่วนพื้นที่ครัวชั้นล่างมีการใช้โถง Double-Volume สูงบริเวณกลาง Island ขนาดใหญ่ เพื่อสร้างบรรยากาศความสบายไม่ให้พื้นที่รู้สึกคับแคบจนเกินไปซึ่งเป็นผลมาจากการปิดผนังบ้านโดยรอบให้ทึบไม่ให้มีช่องเปิด เนื่องจากเจ้าของบ้านนั้นต้องการความเป็นส่วนตัวของพื้นที่สูงและบริบทโดยรอบของบ้านมีอาคารสูงอยู่ล้อมรอบอยู่ จึงเลือกที่จะใช้ช่องเปิดขนาดใหญ่ที่ชั้นล่างแทน เพื่อให้แสงจากธรรมชาติเข้ามาในพื้นที่ครัวได้

การเลือกใช้ประเภทของโครงสร้างที่เพิ่มเติมขึ้นมา

ทางทีมผู้ออกแบบเลือกที่จะใช้โครงสร้างเหล็ก I-beam และ เหล็กกล่อง สำหรับโครงสร้างที่เพิ่มเติมขึ้นมาเป็นหลัก เพราะมีน้ำหนักเบาติดตั้งใช้เวลาน้อยกว่า และที่สำคัญที่สุดนั้นเป็นการที่จะไม่เพิ่มน้ำหนักสำหรับโครงสร้างเดิมมากเกินไป พื้นที่ชั้นล่างทางผู้ออกแบบเลือกใช้ระบบคานคอนกรีตเสริมเหล็กที่จะช่วยรัดรอบเสาคอนกรีตเดิมไปในตัว และใช้พื้นระบบเทในที่และส่วนของชั้นลอยจะเป็นพื้นประเภทแผ่นพื้นสำเร็จรูปและเท Topping ความหนา 5-7 ซม.

การเลือกใช้วัสดุต่างๆ

ทางทีมผู้ออกแบบเลือกใช้ผนังสองชนิดผสมกัน คือ ผนังแบบก่ออิฐมวลเบาและผนังโครงคร่าวสมาร์ทบอร์ด ผนังภายในจะเน้นการใช้สีขาวและพื้นลายไม้สีอ่อน เพื่อช่วยเพิ่มความโปร่งและโล่งให้กับพื้นที่บ้าน และใช้บันได-ราวกันตกเหล็กสีขาวและสีดำเพื่อเน้นความเข้มและสร้างความแตกต่างให้กับพื้นที่ภายใน

ทำ Construction Drawing ของอาคารใหม่

หลังจากที่ขั้นตอนออกแบบเสร็จสมบูรณ์ก็จะเป็นขั้นตอนการเขียนแบบก่อสร้าง ซึ่งจะเป็นแบบที่ใช้ในการคำนวณ BOQ (Bill of Quantities) สำหรับงานก่อสร้างต่อไป ทั้งนี้แบบก่อสร้างและ BOQ จะมีความสัมพันธ์กับงบประมาณของเจ้าของอาคารที่กำหนดไว้ตั้งแต่เริ่มต้น ทั้งนี้ผู้ออกแบบจะคำนึงถึงงบประมาณการก่อสร้างเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดแก่เจ้าของอาคารอีกด้วย

การรื้อถอนอาคารเดิม

การรื้อถอนอาคารเดิมนั้นเป็นขั้นตอนแรกของการรีโนเวทอาคาร ซึ่งผู้ก่อสร้างจะต้องอาศัยแบบก่อสร้างเป็นแนวทางในการรื้อถอน ว่าจะรื้อถอนส่วนใด จะเก็บส่วนใด หรือจะนำวัสดุเก่าชนิดใดของอาคารเดิมมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ถ้าขั้นตอนการรื้อถอนดำเนินการไปอย่างละเอียดแล้ว นอกจากจะช่วยให้การดำเนินการก่อสร้างเป็นไปได้ง่ายขึ้น ยังจะเป็นการช่วยประหยัดงบประมาณของเจ้าของบ้านอีกด้วย

ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงเมื่อจะรื้อถอนอาคารเดิม

งานรื้อถอนเป็นงานที่ละเอียดอ่อน มีปัจจัยที่จะต้องคำนึงถึงมาก แต่ถ้าเจ้าของบ้านและผู้ก่อสร้างเข้าใจในปัจจัยต่างๆ งานรื้อถอนก็จะเป็นไปได้อย่างราบรื่น ซึ่งทางทีมงานขอยกปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงมาดังนี้

  1. สภาพโครงสร้างเดิม – การรื้อถอนต้องดำเนินการอย่างระมัดระวัง ไม่ให้กระทบกับโครงสร้างเดิม หรือให้กระทบน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  2. สภาพแวดล้อมโดยรอบ – เป็นเรื่องธรรมดาที่การรื้อถอนมักเกิดเสียงดังและฝุ่น ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อเพื่อนบ้านของเราได้ ทั้งนี้เจ้าของบ้านควรจะดำเนินการแจ้งเพื่อนบ้านให้ทราบเรื่องการรื้อถอนก่อนเริ่มงาน ว่าจะใช้เวลานานเท่าใด เพื่อที่จะไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง
  3. การขนวัสดุก่อสร้างและขยะจากการรื้อถอนทิ้ง - หลังจากการรื้อถอนแล้ว จะต้องคำนึงถึงพื้นที่ทิ้งขยะ เนื่องจากขยะที่เกิดจากการรื้อถอนนั้นมักจะมีจำนวนมากเสมอ ทั้งนี้ผู้ก่อสร้างและเจ้าของบ้านควรจะตกลงเรื่องของที่ทิ้งขยะให้ดีก่อนเรื่องงานรื้อถอน

การ Recycle วัสดุบางชนิดที่จะนำมาใช้ในการก่อสร้างได้

วัสดุที่ได้จากการรื้อถอนนั้นผู้ก่อสร้างอาจจะนำมาใช้งานได้ในงานบางประเภทเช่น งานเข้าแบบเพื่อเทคอนกรีตหรืองานค้ำยัน เป็นต้นทั้งนี้การรีไซเคิลวัสดุเหลือใช้นั้นจะเป็นผลดีเรื่องการประหยัดงบประมาณในก่อสร้างที่จะเกิดขึ้นซึ่งอาจจะมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับหน้างานแต่ละงานที่ไม่เหมือนกัน

ในงานก่อสร้างบ้านหลังนี้ทางทีมงานของเราได้นำวัสดุชนิดเหล็กกล่องที่เป็นจันทันเก่าของบ้านมาใช้เป็นแบบสำหรับงานโครงสร้างเทคอนกรีตและนำเศษอิฐที่ได้การจากการทุบมาใช้ถมเพื่อปรับระดับพื้นของอาคารทั้งนี้เป็นการช่วยเจ้าของบ้านประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของไม้แบบและดินที่จะต้องนำมาถมอีกด้วย

การทำ Shop Drawing

หลังจากที่ขั้นตอนการรื้อถอนเสร็จสิ้นแล้วผู้ออกแบบจะมาตรวจสอบภาพหน้างานของอาคารอีกครั้ง เพื่อที่จะมาทำ Shop Drawing เพิ่มเติมจากConstruction Drawing ที่ได้ทำไว้แล้วเป็นการตรวจสอบทั้งระยะและระดับต่างๆ ของอาคารรวมไปถึงสภาพโครงสร้างที่อาจจะได้รับผลกระทบจากงานรื้อถอนซึ่งอาจจะมีผลต่องานก่อสร้างที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

การทำ Shop Drawing หลังจากงานรื้อถอนอีกครั้งสำคัญอย่างไร

การทำ Shop Drawing อีกครั้งนั้นช่วยทำให้แบบที่จะใช้ในการก่อสร้างละเอียดมากขึ้นช่วยลดความผิดพลาดทางโครงสร้างที่อาจจะเกิดขึ้นและยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยของงานก่อสร้างอีกด้วยทั้งนี้เมื่อผู้ออกแบบทราบสภาพหน้าจริงๆ แล้วในบางครั้งข้อจำกัดทางการก่อสร้างอาจมีเพิ่มเข้ามา ทำให้งานออกแบบอาจจะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสมซึ่งทั้งทีมผู้ออกแบบและเจ้าของบ้านจะต้องตกลงกันในการหาทางออกที่ดีที่สุดเท่าที่ขอบเขตของโครงสร้างเดิมจะเป็นไปได้

งานก่อสร้างประเภทงานโครงสร้าง

งานก่อสร้างประเภทโครงสร้างคือขั้นตอนแรกของงานก่อสร้างซึ่งความปลอดภัยคือปัจจัยที่สำคัญที่สุดทั้งในเรื่องของความปลอดภัยของทีมงานก่อสร้างไปจนถึงความปอดภัยของเจ้าของบ้านในโอกาสนี้ Too Architects ขออธิบายขั้นตอนการก่อสร้างของบ้านหลังนี้อย่างละเอียดเพื่อที่จะให้เป็นประโยชน์แก่เจ้าของอาคารเก่าทุกท่านที่มีความประสงค์ที่จะรีโนเวทอาคารอย่างสวยงามถูกต้อง และปลอดภัย

โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก

เนื่องจากสภาพเดิมของบ้านหลังนี้มีฐานรากเดิมอยู่แล้วทางทีมงานก่อสร้างจึงเริ่มงานจากคานคอดินของบ้านซึ่งใช้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กรัดรอบเสาเดิมเพื่อเพิ่มให้มีความแข็งแรงและมั่นคงมากขึ้นในส่วนของพื้นชั้นล่างใช้โครงสร้างพื้นชนิดเทในที่ โดยเทต่อจากคานคอดินที่หล่อขึ้นมาใหม่และยังใช้วัสดุรีไซเคิลจากเหล็กจันทันเก่าของบ้านมาทำเป็นแบบหล่อคอนกรีต  

โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก

โครงสร้างเหล็กมีบทบาทที่สำคัญเป็นอย่างมากในการรีโนเวทบ้านหลังนี้ทั้งนี้ Too Architects จะขออธิบายขั้นตอนการก่อสร้างโครงสร้างเหล็กของบ้านตั้งแต่การเลือกขนาดเหล็กความหนา ไปจนถึงการติดตั้งโครงสร้างที่เกิดขึ้นในการก่อสร้างการเลือกชนิดวัสดุที่ถูกต้องจะช่วยให้งานก่อสร้างออกมาสวยงาม ปลอดภัย แข็งแรงและยังประหยัดงบประมาณของเจ้าของบ้านอีกด้วย

คานเหล็ก

คานเหล็กของบ้านหลังนี้ทางทีมงานก่อสร้างเลือกใช้คานเหล็ก I-beam ขนาด 200 x100 x 7 x 10 มม. ความยาว 6 เมตรสั่งตัดตามความยาวที่ต้องการจากโรงงาน เชื่อมติดกับเพลทเหล็กขนาด 150 x 150x 12 มม. ที่ยึดกับหัวเสาด้วยการเทปูนนอนชริ้งค์เกราท์ 750ksc เพื่อความแข็งแรงของโครงสร้างที่จะต้องรับน้ำหนักเพิ่มเติม

เสาเหล็ก

เสาเหล็กของบ้านนั้นต่อขึ้นมาจากคานเหล็ก I-beam เนื่องจากเสาเหล็กทั้งชุดของบ้านนั้นรับน้ำหนักเพียงแค่โครงหลังคาของบ้าน จึงเลือกใช้เสาเหล็กกล่องสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 150 x 150 x 3.2 มม. เชื่อมติดกับคานเหล็ก I-beam ด้านล่าง และใช้อะเสเหล็กกล่องขนาด 50 x 100 x 2.3 มม. ปลายเสาเอาไว้เพื่อที่จะวางจันทันต่อไป

โครงหลังคาเหล็กและวัสดุมุงหลังคา

องค์ประกอบที่สำคัญของโครงหลังคาทรง “Lean-To” หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ “เพิงหมาแหงน” ของบ้านหลังนี้มีจันทันเหล็กกล่องขนาด 50 x 100 x 1.8 มม ที่เว้นระยะห่างทุกๆ 1 เมตร และแปเหล็กกล่องขนาด ขนาด 25 x 25 x 1.2 มม. ที่เว้นระยะห่างทุกๆ 1 เมตรตามสเปคของเมทัลชีมชนิด PU foam ที่ใช้เป็นวัสดุมุงหลังคา และปิดเชิงชายด้วยเหล็กแผ่นหนา 3 มม โดยรอบของหลังคา

หลังคาทรงเพิงหมาแหงนนี้เป็นที่นิยมมากในปัจจุบันเนื่องจากสามารถระบายน้ำฝนได้ดี ใช้วัสดุในการก่อสร้างโครงหลังคาไม่มากและมักจะใช้ควบคู่กับเมทัลชีท เนื่องจากเมทัลชีทเป็นวัสดุมุงที่สามารถเลือกขนาดความยาวได้ความต้องการ มีความยาวต่อแผ่นสูงเพราะรีดความยาวแผ่นมาจากโรงงาน ทำให้สามารถใช้คู่กับโครงหลังคาหลังคาที่มีความชันน้อยได้ดี

แผ่นพื้นและพื้นเทในที่

ในส่วนของโครงสร้างพื้นชั้นลอยนั้น มีการเลือกใช้พื้นสองชนิด คือ “แผ่นพื้นสำเร็จรูป” ที่ใช้วางบนคาน I-beam ปูด้วยตะแกรงเหล็ก ไวร์เมช ศก. 3 มม. ขนาดตาราง 20 x 20 มม. และเท Topping ด้วยปูน 240 ksc หนา 5 ซม. และ “พื้นเทในที่” ในส่วนของห้องน้ำที่ใช้การเข้าแบบด้วยการสานเหล็กกลม 9 มม. และเทปูน 350 ksc ผสมน้ำยากันซึมหนา 10 ซม. ทั้งนี้การเลือกใช้ชนิดโครงสร้างพื้นที่ต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทการใช้งานที่ต่างกันด้วย

งานก่อสร้างประเภทงานสถาปัตยกรรม (ผนัง)

หลังจากที่งานโครงสร้างเสร็จสิ้นแล้วงานผนังจะเป็นขั้นตอนต่อไปของการก่อสร้าง โดยการรีโนเวทบ้านหลังนี้ทางทีมงานก่อสร้างเลือกใช้ผนังสองประเภทได้แก่ “ผนังก่ออิฐมวลเบา” และ “ผนังเบาสมาร์ทบอร์ด” เพราะมีน้ำหนักเบา มีความแข็งแรง และยังไม่เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างเดิมมากจนเกินไปอีกด้วย

ผนังก่ออิฐมวลเบา

ผนังก่ออิฐมวลเบาจะเป็นส่วนที่เลือกใช้ในพื้นที่ที่ติดกับห้องน้ำ เนื่องจากสามารถทนความชื้นได้ดีกว่าผนังเบาสมาร์ทบอร์ดและต้องมีการปูกระเบื้องห้องน้ำทับ อิฐมวลเบายังมีข้อดีในเรื่องของความทนต่อสภาพอากาศ ป้องกันความร้อนได้ดี ดูดซับเสียงได้ดี และมีน้ำหนักเบา

ผนังเบาสมาร์ทบอร์ด

ผนังเบาสมาร์ทบอร์ดจะเป็นส่วนที่เลือกใช้ในพื้นที่อื่นที่ไม่ใช่ห้องน้ำ โดยเลือกใช้ที่ความหนา 8 มม. สำหรับผนังภายใน และความหนา 10 มม. สำหรับผนังภายนอก ยึดติดด้วยโครงเคร่าสำเร็จรูปตัว U และตัว C ผนังเบาสมาร์ทบอร์ดมีน้ำหนักเบา แข็งแรง มีความเหนียวและยืดหยุ่น ไม่มีปัญหาเรื่องปลวก และทนต่อความชื้นทั้งภายในและภายนอกได้ดี

งานระบบไฟฟ้า ประปาและสุขาภิบาล

ก่อนที่จะเริ่มงานฉาบผิวผนังของบ้านนั้น จะเป็นขั้นตอนของการเริ่มทำงานกรีดผนังเพื่อเดินท่อระบบไฟฟ้าและประปาของบ้าน ซึ่งท่อของทั้งสองระบบนี้ไม่ควรจะอยู่ในช่องชาร์ป หรือรอยกรีดเดียวกัน เนื่องจากเมื่อบ้านเสร็จสมบูรณ์และใช้งานผ่านระยะเวลาไปนาน อาจจะทำให้เกิดปัญหาเมื่อมีการรั่วซึมของท่อน้ำหรือท่อไฟฟ้าที่ชำรุด เมื่อท่อของทั้งสองระบบอยู่ใกล้กันจะเกิดปัญหาไฟช็อตได้

งานระบบควรจะเริ่มทำตอนไหนของขั้นตอนการก่อสร้าง

งานระบบสุขาภิบาลบางส่วนนั้นสามารถเริ่มก่อนงานก่อสร้างประเภทสถาปัตยกรรมได้เลย เช่น งานวางระบบระบายน้ำ ระบบบำบัดน้ำ ที่อยู่ภายใต้โครงสร้างชั้นล่าง หรือจะเป็นการฝังท่อบางส่วนก่อนจะเทพื้นคอนกรีตของห้องน้ำ ทั้งนี้อยู่ที่การวางแผนการก่อสร้างตั้งแต่เริ่มต้น  ในส่วนของงานเดินท่อไฟฟ้าและท่อน้ำบางส่วนนั้น มักจะทำหลังจากการก่อผนัง เนื่องจากจะต้องฉาบผนังทับเพื่อเก็บความเรียบร้อยของท่อสายไฟและท่อน้ำ

งานระบบไฟฟ้า

พื้นฐานของงานระบบไฟฟ้านั้น ทางทีมงานก่อสร้างจะอาศัยแบบไฟฟ้าเป็นเป็นเกณฑ์ในการคำนวณโหลดไฟฟ้าว่าเป็นเท่าใด ซึ่งจะคำนวณจากปริมาณเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะมีในบ้าน จำนวนดวงไฟแสงสว่าง ปลั๊กไฟ หรือ สิ่งต่างๆ ที่ใช้ไฟฟ้า ทั้งนี้เจ้าของบ้านจะต้องแจ้งให้กับทั้งทีมงานออกแบบและทีมงานก่อสร้างทราบถึงความต้องการในการใช้งานไฟฟ้าเบื้องต้น

ในการเดินระบบท่อไฟฟ้าของบ้านหลังนี้ ทางทีมงานก่อสร้างเลือกที่จะใช้ท่อ PVC สีเหลือง เป็นท่อร้อยสายไฟ เพราะมีราคาถูก ช่วยให้ประหยัดงบประมาณของเจ้าของบ้านและเนื่องจากท่อจะต้องฝังในผนังอยู่แล้ว จึงไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ท่อโลหะที่มีราคาสูง

งานระบบประปาและสุขาภิบาล

ในงานระบบประปาและสุขาภิบาลนั้น จะต้องคำนึงถึงแนวทางการเดินระบบตั้งแต่น้ำดีที่เข้ามาสู่ตัวบ้าน ไปจนถึงการบำบัดน้ำเสียผ่านถังบัดบำน้ำ หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ถังแซ็ท” ไปจนถึงการระบายออกสู่สาธารณะ ประเภทของน้ำในงานระบบประปาและสุขาภิบาลแบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้  

  1. น้ำดี
    • “น้ำดี” หรือ “Cold Water” นั้นเริ่มต้นตั้งแต่น้ำที่เข้ามาผ่านมิเตอร์ของบ้านไปสู่ถังเก็บน้ำ ซึ่งเจ้าของบ้านจะต้องให้ข้อมูลเรื่องปริมาณการใช้งานน้ำและจำนวนสมาชิกคนในบ้านคร่าวๆ เพื่อจะใช้ในการคำนวณขนาดของถังเก็บน้ำ และใช้ปั๊มน้ำจ่ายไปสู่อุปกรณ์ต่างๆ ผ่านท่อน้ำดีขนาด 2”
  2. น้ำทิ้ง
    • “น้ำทิ้ง” หรือ “Drain Water” คือน้ำที่มากจาก “Floor Drain” และรางน้ำฝนจากหลังคา จะใช้ท่อขนาด 2”
  3. น้ำเสีย
    • “น้ำเสีย” หรือ “Wasted Water” คือน้ำที่มากจากอ่างล้างมือในห้องน้ำและ “Floor Drain” ในห้องน้ำจะใช้ท่อขนาด 2”
  4. น้ำโสโครกจากโถส้วม
    • “น้ำโสโครกจากโถส้วม” หรือ “Sewage Water” คือน้ำที่มากจากโถส้วมในห้องน้ำจะใช้ท่อขนาด 4”

งานก่อสร้างประเภทงานสถาปัตยกรรม (ฉาบ)

หลังจากที่งานเดินท่องานระบบเสร็จสิ้นแล้ว จะเป็นขั้นตอนของงานฉาบผนังก่ออิฐมวลเบาและผนังเบาสมาร์ทบอร์ด ซึ่งผนังทั้งสองประเภทจะใช้ชนิดของปูนฉาบและวิธีฉาบที่แตกต่างกัน

ฉาบผนังอิฐมวลเบา

การฉาบผนังอิฐมวลเบานั้นควรฉาบปูนที่ความหนา 5-10 มม. ไม่ต้องฉาบหนาเหมือนผนังอิฐมอญ เพราะหากเป็นอิฐมวลเบาที่มีคุณภาพมาตรฐาน ก้อนอิฐจะมีผิวเรียบได้ขนาด สามารถก่อได้ดิ่งได้แนวง่าย ไม่เปลืองปูนฉาบ

ฉาบผนังเบาสมาร์ทบอร์ด

การฉาบผนังเบาสมาร์ทบอร์ดจะเริ่มจากการฉาบเก็บรอยต่อระหว่างแผ่น ซึ่งต้องใช้ปูนประเภทปูนฉาบเก็บรอยต่อของซีเมนต์บอร์ด และปิดท้ายด้วยการฉาบบางหรือ (Skim Coat) ที่ความหนา 0.30 -3.0 มม. จะทำให้ผนังเรียบเนียนพร้อมที่จะทาสีรองพื้นต่อไป

งานก่อสร้างประเภทงานสถาปัตยกรรม (บันได, ราวบันไดและราวกันตก)

งานก่อสร้างบันไดของบ้านหลังนี้ทางทีมงานก่อสร้างเลือกที่จะดำเนินการหลังจากการฉาบผิวผนัง เนื่องจากจะเป็นการป้องกันการชำรุดของบันไดที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินขั้นตอนการก่อสร้างอื่นอยู่ โครงสร้างบันไดของบ้านเป็นโครงสร้างเหล็กที่เน้นสีดำและสีขาวเป็นหลัก ใช้แม่บันไดเหล็ก I-beam ขนาด 200 x 100 x 7 x 10 มม. เชื่อมกับลูกบันไดเหล็กพับหนา 6 มม. ในส่วนของราวบันไดละราวกันตกนั้น เลือกใช้เหล็กกลมเป็นระแนงแนวตั้งกับราวจับเหล็กฉาก

งานก่อสร้างประเภทงานสถาปัตยกรรม (Finishing)

งานประเภท Finishing จะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเก็บงานสถาปัตยกรรมก่อนจะติดตั้งอุปกรณ์ เพราะงานก่อสร้างประเภทนี้ต้องการฝีมือช่างที่มีความละเอียดสูง ไม่ควรจะดำเนินการหลังจากที่การก่อสร้างประเภทโครงสร้างเสร็จสิ้นหมดแล้ว

งานกระเบื้องห้องน้ำ

งานกระเบื้องห้องน้ำมีทั้งในส่วนของพื้นและผนัง กระเบื้องพื้นห้องน้ำนั้นต้องมีระดับความลาดเอียงของพื้นที่เหมาะสม เพื่อให้น้ำสามารถระบายลงท่อระบายน้ำได้ ในส่วนของผนังที่ต้องได้ระยะดิ่งที่ตรง ไม่คดเอียงและจะต้องยาแนวตามร่องกระเบื้องทุกแผ่นไม่ว่าจะเป็นส่วนของพื้นและผนังด้วยปูนยาแนวที่ได้คุณภาพ

งานฝ้าและสีฝ้า

งานฝ้าจะเริ่มหลังจากที่งานผิวผนังเสร็จสิ้นแล้ว การขึ้นโครงฝ้าจะใช้ซีลายขึ้นเป็นตารางโดยเว้นระยะห่างช่องละ 40 ซม. และใช้ยิปซั่มบอร์ดความหนา 9 มมเป็นวัสดุฝ้า ในส่วนของห้องน้ำจะมีการใช้ยิปซั่มต่างชนิดจากพื้นที่ภายใน ซึ่งจะเป็นยิปซั่มบอร์ดชนิดกันชื้น ส่วนของฝ้าภายนอกของบ้านที่ต้องโดนแดดและฝนอยู่ตลอดเวลานั้น ทางทีมงานก่อสร้างเลือกใช้สมาร์ทบอร์ดความหนา 6 มม. เพราะมีความสามารถในการทนทานต่อสภาพอากาศและแข็งแรงมากกว่ายิปซั่มบอร์ด

ขั้นตอนการทำสีฝ้านั้นจะเริ่มจากการฉาบบาง (Skim Coat) ที่ความหนา 0.30 -3.0 มม. และลงสีรองพื้น จากนั้นค่อยลงสีจริงประมาณ 2-3 รอบ สีจึงจะติดทน และอยู่ได้นาน

งานสี

งานสีคืองานที่ต้องอาศัยความละเอียดและการทาสีที่เสมอกันของช่างสี ทั้งนี้การเลือกชนิดสีที่ใช้ก็มีความแตกต่างกันในแต่ละชนิดของพื้นผิวและพื้นที่ที่ต้องทาสี

การเลือกใช้สีแต่ละประเภท

การเริ่มงานสีนั้นเริ่มจากการทาสีรองพื้น ซึ่งบ้านหลังนี้มีการใช้สีรองพื้น 2 ประเภท คือ สีรองพื้นปูนเก่าสำหรับผนังสมาร์ทบอร์ดและสีรองพื้นปูนใหม่สำหรับผนังอิฐมวลเบา การทาสีรองพื้นจะทาเพียงแค่ 1 รอบเท่านั้น เมื่อสีรองพื้นแห้งดีแล้ว จะเป็นการทาสีจริงของผนัง

สีจริงนั้นแบ่งเป็น 2 ประเภทคือสีทาภายนอกและสีทาภายใน สีจริงจะทามากถึง 2-3 รอบสำหรับสีอ่อน แต่ถ้าเป็นสีที่สดและเข้มมากๆ อาจจะต้องทาถึง 4-5 รอบเพื่อให้สีติดทนและสวยงาม

งานกระเบื้องพื้นและบัวพื้น

กระเบื้องพื้นของบ้านหลังนี้เลือกใช้เป็นกระเบื้องยางลายไม้ชนิดทากาว ให้สัมผัสที่คล้ายไม้และให้ความรู้สึกอบอุ่น มีความนุ่มและยืดหยุ่น ง่ายต่อการซ่อมแซมชิ้นส่วนกระเบื้องที่อาจชำรุดในอนาคต ใช้เวลาปูรวดเร็วและปิดขอบวัสดุด้วยบัวพื้นลายไม้

งานติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ

หลังจากงานประเภท Finishing เสร็จสิ้นแล้วจะมีการทำความสะอาดครั้งใหญ่ 2-3 รอบ เนื่องจากระหว่างงานก่อสร้างทุกขั้นตอนนั้นทำให้เกิดฝุ่นและขยะเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้หลังจากทำความสะอาดเรียบร้อยแล้วจะเป็นการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ของบ้าน

อุปกรณ์งานระบบไฟฟ้า

อุปกรณ์ของงานระบบไฟฟ้าที่ติดตั้งในขั้นตอนนี้ได้แก่ อุปกรณ์ดวงไฟแสงสว่าง หน้ากากสวิตซ์และปลั๊กไฟ เครื่องปรับอากาศและเครื่องดูดควัน หลังจากที่ติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทางทีมงานก่อสร้างจะทำการตรวจสภาพการใช้งานของงานระบบไฟฟ้าทุกจุดอย่างละเอียด เพื่อความปลอดภัยของเจ้าของบ้านเมื่อเข้าใช้งานและอยู่อาศัย

อุปกรณ์งานระบบประปาและสุขาภิบาล

อุปกรณ์ในงานประเภทนี้ไม่ว่าจะเป็น โถส้วม อ่างล้างมือ สายชำระ ฝักบัว หรือก๊อกน้ำ จะทำการติดตั้งหลังจากปูกระเบื้องเสร็จเรียบร้อย ทั้งนี้ในขั้นตอนการติดตั้งจะต้องดูบริเวณรอยต่อให้ดี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการรั่วซึมของอุปกณ์หลังจากที่ผ่านการใช้งานไปเป็นระยะเวลานาน

ประตู – หน้าต่าง

ในงานติดตั้งบานกระจก บานหน้าต่างและประตูบานเลื่อนอลูมิเนียมนั้นสามารถดำเนินการก่อนหรือหลังจากทำสีก็ได้ ขึ้นอยู่กับแผนงานการก่อสร้างที่ทีมงานก่อสร้างวางไว้ ทั้งนี้สำหรับบ้านหลังนี้นั้นทางทีมงานก่อสร้างเลือกที่จะทำเป็นขั้นตอนสุดท้าย เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่อาจทำให้บานอลูมิเนียมที่ติดตั้งได้รับความเสียหายได้

การเลือกบานอลูมิเนียมนั้นทีมงานออกแบบจะต้องให้ข้อมูลต่างๆ แก่เจ้าของบ้านไม่ว่าจะเป็น สีและความหนาของกระจกและกรอบอลูมิเนียม ชนิดการเปิดของบาน ไปจนถึงการใช้ดีเทลต่างๆ ของการติดตั้ง ทั้งนี้จะต้องสัมพันธ์กับงบประมาณของเจ้าของบ้านที่มีด้วย

สำหรับบานประตูภายในของบ้านหลังนี้มีทั้งชนิดประตูบานเปิดเดี่ยวและประตูบานเลื่อน โดยเน้นการใช้ประตูวัสดุบาน UPVC เพราะมีน้ำหนักเบา แข็งแรง ทนทานต่อปลวกและมีราคาประหยัด

งาน Built-in

งาน Built-in ของบ้านหลังนี้มีเพียงแค่ Island บริเวณห้องครัว ที่ขึ้นโครงด้วยเหล็กกล่องปิดผิวด้วยแผ่นวีเนียร์ไม้ และวางท็อปด้วยแผ่นหินอ่อนขนาดใหญ่ที่ใช้สำหรับการทำขนม และชั้นวางของสำหรับหิ้งพระหน้าห้องนอนที่เน้นการใช้แผ่นวีเนียร์ลายไม้สีอ่อน ทั้งนี้งาน Built-in เป็นงานที่สามารถออกแบบและก่อสร้างได้ตามต้องการของเจ้าของ เนื่องจากบางครั้งเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวตามตลาดอาจไม่มีขนาดตามที่ต้องการ การใช้เฟอร์นิเจอร์ Built-in ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับพื้นที่ที่จำกัดหรือความต้องการที่เฉพาะ

ส่งมอบงาน

หลังจากที่การก่อสร้างทุกขั้นตอนเสร็จสมบูรณ์แล้ว ทางทีมงานก่อสร้างจะดำเนินการทำความสะอาดอีก 2-3 ครั้ง และให้เจ้าของบ้านตรวจสภาพความเรียบร้อยต่างๆ ของงานก่อสร้างก่อนส่งมอบงาน ไม่ว่าจะเป็นงานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรม งานระบบไฟฟ้า งานระบบประปาสุขาภิบาล และงาน Built-in เพื่อผลประโยชน์แก่เจ้าของบ้านเอง และในขั้นตอนนี้ทางทีมงานก่อสร้างจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการแก้ไขจุดต่างๆ ที่อาจเกิดปัญหา ชำรุดหรือเสียหายทั้งหมดก่อนจะส่งมอบงานได้

ถือว่าเป็นอันเสร็จสิ้นสำหรับขั้นตอนการรีโนเวทบ้านเก่าชั้นเดียวอายุกว่า 30 ปี โดย Too Architects หวังว่าข้อมูลต่างๆ ในแต่ละขั้นตอนของบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกท่านไม่มากก็น้อย และทางเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านจะได้นำข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่ได้จากบทความนี้ไปใช้กับอาคารเก่าที่รอวันได้รับการแปลงโฉมของท่านอยู่ งานรีโนเวทนั้นไม่ยากอย่างที่คิด หากทำอย่างถูกวิธีและถูกขั้นตอน แต่ขอให้ทุกท่านตระหนักไว้เสมอว่าการรีโนเวทอาคารเก่านั้นไม่ใช่การสร้างใหม่ แต่เป็นการเปลี่ยนโฉมของเก่าที่มีข้อจำกัดให้สวยงามและตอบโจทย์ที่สุดเท่าที่ขอบเขตของตัวอาคารเองจะเป็นไปได้

หากต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการรีโนเวทและการออกแบบอาคารเก่าสามารถ คลิ๊กที่นี่

หรือส่งรายละเอียดมาที่ E-mail : admin@too-architects.com หรือ โทร 061-268-2281

ทาง Too Architects ยินดีให้คำปรึกษาโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ

รีโนเวทบ้านร้างอายุ 30 ปี ให้เป็น Cooking Studio

เปลี่ยนบ้านชั้นเดียวขนาดกะทัดรัดเก่ากว่า 30 ปีของคุณให้กลายเป็นสตูดิโอทำอาหารและพื้นที่ใช้สอยที่โดดเด่น 75 ตรม. ที่ผสมผสานการทำงานและความงามที่เรียบง่ายได้อย่างลงตัว

กล้วยน้ำไทยไมโครเฮาส์ บ้านร้างอายุ 30 ปีที่ได้รับการรีโนเวทใหม่

Too Architects จะขอพาท่านผู้อ่านทุกท่านมาดูขั้นตอนการรีโนเวทบ้านเก่าชั้นเดียว อายุกว่า 30 ปี ที่เจ้าของนั้นมีความต้องการที่จะปรับปรุงบ้านหลังนี้ให้เป็น Cooking Studio สำหรับสอนทำอาหารและและมีพื้นที่สำหรับพักอาศัยอยู่บริเวณชั้นบน

KMCH House

กล้วยน้ำไทยไมโครเฮาส์

บ้านหลังนี้ตั้งอยู่ในย่านกล้วยน้ำไท ซึ่งเป็นย่านที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และเป็นย่านที่มีการประกอบธุรกิจขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก เนื่องด้วยราคาที่ดินต่อตารางวาที่สูงทำให้เรามักจะเห็นรูปแบบการใช้พื้นที่พักอาศัยผสมรวมกับพื้นที่ทำธุรกิจขนาดเล็กเป็นจำนวนมาก และยังตอบโจทย์สำหรับวิถีชีวิตคนเมืองที่ “ที่พักอาศัย” และ “ที่ทำงาน” อยู่ในที่เดียวกันได้อย่างดี

ด้วยข้อจำกัดทางพื้นที่ของบ้านหลังนี้ที่มีขนาดเล็ก และความต้องการที่จะเพิ่มฟังก์ชั่นพื้นที่ครัวขนาดใหญ่เข้าไปในบ้านสำหรับทำเป็น Cooking Studio จึงเป็นโจทย์ที่ยากและท้าทายสำหรับทางทีมงานของเรา ทั้งนี้งานออกแบบและก่อสร้างอาคารที่เสร็จสมบูรณ์นั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าขาดการร่วมงานกันอย่างต่อเนื่องระหว่างทีมงานของเราและเจ้าของบ้านตั้งแต่ต้นจนจบ เพราะเราเชื่อในแนวคิดการทำงานที่ว่า “เจ้าของบ้าน” ไม่ใช่ลูกค้าแต่เป็น “เพื่อนร่วมงาน” ที่เราจะสื่อสารและประสานงานกันอยู่ตลอดเวลา

จาก “แนวคิด” ถึง “การก่อสร้าง”

โจทย์ที่ทางเจ้าของบ้านให้มานั้นคือต้องการพื้นที่ครัวที่ใหญ่ ใช้งานได้ดีสำหรับการทำอาหารและขนม ไปจนถึงการสอนคนที่มาเข้าคอร์ส และพื้นที่พักอาศัยที่ขนาดไม่ต้องใหญ่มากให้เพียงเข้าพักอยู่ได้ แต่ด้วยขอบเขตของบ้านเดิมที่มีขนาดเพียง 5 เมตร x 10 เมตร ทำให้ทีมงานออกแบบต้องเพิ่มพื้นที่ชั้นลอยเข้าไปในบริเวณตัวบ้าน โดยแบ่งพื้นที่ครัวไว้ที่ชั้นล่าง และพื้นที่พักอาศัยไว้ที่ชั้นลอย ซึ่งการแบ่งแยกนี้ยังเป็นการเพิ่ม “Privacy” ของพื้นที่ไปในตัว

ทำไมการรีโนเวทนั้นไม่ยากอย่างที่คุณคิด ?

บ้านหลังนี้นับเป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับผู้ที่มีบ้านหรืออาคารเก่าและต้องการจะรีโนเวทเพื่อจุดประสงค์ใดๆ ก็ตาม ไม่ว่าเป็นสำหรับการพักอาศัยหรือการประกอบธุรกิจ เป็นเรื่องธรรมดาที่อาคารเก่านั้นมีปัจจัยหลายอย่างที่ซับซ้อนและสภาพเดิมที่ต้องการการซ่อมแซมอย่างละเอียด แต่เพียงแค่การเข้าใจขั้นตอนต่างๆ ก่อนเริ่มงานรีโนเวท ตั้งแต่การศึกษาสภาพอาคารเดิม การออกแบบ ไปจนถึงการก่อสร้างที่ปลอดภัย ก็จะทำให้งานรีโนเวทไม่ยากอย่างที่คุณคิด

Too Architects จะขอนำทุกท่านไปดูขั้นตอนการรีโนเวทบ้านหลังนี้อย่างละเอียดในทุกๆ ขั้นตอน ทั้งแต่ต้นจนจบ ทั้งหมด 13 ขั้นตอน รวมถึงอธิบายข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทั้งในเรื่องการออกแบบ การก่อสร้าง งานระบบและการเลือกใช้วัสดุ ที่สามารถนำไปใช้กับอาคารเก่าของทุกท่านได้

13 ขั้นตอนรีโนเวทบ้านเก่า

ตัวอย่างผลงานโครงการบ้านขนาดเล็ก กล้วยน้ำไทยไมโครเฮาส์

  1. การศึกษาสภาพอาคารดั้งเดิม
  2. การออกแบบและการเขียนแบบ
  3. การรื้อถอนอาคารเดิม
  4. การทำ Shop Drawing
  5. งานก่อสร้างประเภทงานโครงสร้าง
  6. งานก่อสร้างประเภทงานสถาปัตยกรรม (ผนัง)
  7. งานระบบไฟฟ้า ประปาและสุขาภิบาล
  8. งานก่อสร้างประเภทงานสถาปัตยกรรม
  9. งานก่อสร้างประเภทงานสถาปัตยกรรม (บันได,ราวบันไดและราวกันตก)
  10. งานก่อสร้างประเภทงานสถาปัตยกรรม (Finishing)
  11. งานติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ
  12. งาน Built-in
  13. ส่งมอบงาน

การศึกษาสภาพอาคารเดิม

การศึกษาสภาพเดิมของอาคารคือหัวใจที่สำคัญที่สุดสำหรับงานรีโนเวททุกงาน เปรียบเสมือนการกลัดกระดุมเม็ดแรก ถ้าเรากลัดกระดุมเม็ดแรกผิด เม็ดถัดไปก็จะผิดทั้งหมด เนื่องจากอาคารเก่านั้นมีสภาพความทรุมโทรมที่ต่างกัน ซึ่งจะส่งผลกับความแข็งแรงและความปลอดภัยของโครงสร้างที่เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในงานก่อสร้าง เจ้าของอาคารเก่าที่มีความต้องการจะรีโนเวททุกท่าน จึงต้องศึกษาสภาพเดิมของอาคารให้ดี และจะดีมากกว่าถ้าปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในงานรีโนเวทโดยตรง

Check list ที่ต้องรู้สำหรับการศึกษาสภาพอาคารเดิม

Check list ที่สำคัญสำหรับการศึกษาสภาพอาคารเดิมจะมีทั้งหมด 4 ข้อ คือ

  1. โครงสร้างเดิมของอาคาร - เจ้าของอาคารจะต้องดูว่าจุดใดของโครงสร้างที่ทรุมโทรมมากและต้องทำการเสริมโครงสร้าง จุดใดใช้งานได้ดี จุดใดต่อเติมได้หรือไม่ได้ จุดใดรื้อได้หรือไม่ได้
  2. งานก่อสร้างประเภทสถาปัตยกรรมของอาคาร – เจ้าของอาคารจะต้องดูส่วนต่างๆ ของอาคารที่ชำรุด มีรอยแตกรั่ว บริเวณผนัง พื้นและหลังคา ความชื้นที่เกิดขึ้นที่อาจจะส่งผลต่อการก่อสร้างอาคารในอนาคต ไปจนถึงส่วนใดก็ตามของอาคารที่ต้องการจะเก็บไว้ ซึ่งข้อนี้จะเป็นการช่วยประหยัดงบประมาณของเจ้าของบ้านได้พอสมควรเลยทีเดียว
  3. งานระบบประปาและสุขาภิบาล – เจ้าของอาคารจะต้องดูระบบในภาพรวมว่า ท่อส่วนใดชำรุด ไม่ว่าจะเป็นท่อน้ำดีและน้ำเสีย ไปจนถึงการเก็บน้ำของอาคาร การระบายน้ำเสีย ถังบำบัดน้ำ และการเข้าซ่อมแซมที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่ออาคารเสร็จสมบูรณ์และมีการใช้งานเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน
  4. งานระบบไฟฟ้า – เจ้าของอาคารจะต้องดูระบบในภาพรวมว่าระบบการเดินไฟฟ้าของเดิมนั้นใช้งานได้อยู่หรือไม่ มีจุดใดที่ไฟรั่ว ไปจนถึงการเชื่อมไฟเข้ามาในตัวบ้านว่าจะเกิดขึ้นในบริเวณใดของบ้าน

โครงสร้างเดิมของอาคารมีผลอย่างไรต่อการออกแบบและการรีโนเวท

หลังจากการศึกษาโครงสร้างเดิมอย่างดีแล้ว โดยทั่วไปผู้ออกแบบจะนำข้อมูลนี้ไปใช้ในการออกแบบ สิ่งที่สำคัญที่สุดคืองานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรมหรืองานระบบต่างๆ นั้นสามารถเพิ่มเติมได้มากกว่า แต่ในทางกลับกันสิ่งที่เจ้าของอาคารต้องคำนึงก็คือ โครงสร้างคือข้อจำกัดของงานก่อสร้าง งานรีโนเวทนั้นไม่ใช่การสร้างสิ่งใหม่ขึ้นมา แต่เป็นการเปลี่ยนโฉมของเก่าที่มีข้อจำกัดให้สวยงามและตอบโจทย์ที่สุดเท่าที่ขอบเขตของมันจะเป็นไปได้

งานระบบเดิมของอาคาร

ผนังเบาสมาร์ทบอร์ดจะเป็นส่วนที่เลือกใช้ในพื้นที่อื่นที่ไม่ใช่ห้องน้ำ โดยเลือกใช้ที่ความหนา 8 มม. สำหรับผนังภายใน และความหนา 10 มม. สำหรับผนังภายนอก ยึดติดด้วยโครงเคร่าสำเร็จรูปตัว U และตัว C ผนังเบาสมาร์ทบอร์ดมีน้ำหนักเบา แข็งแรง มีความเหนียวและยืดหยุ่น ไม่มีปัญหาเรื่องปลวก และทนต่อความชื้นทั้งภายในและภายนอกได้ดี

โดยส่วนมากในงานรีโนเวทอาคารที่เก่ามากๆ มักจะเดินระบบไฟฟ้ากับประปาและสุขาภิบาลใหม่ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพเดิมของงานระบบที่ยังใช้งานได้ดีอยู่หรือไม่ วัสดุที่อาจจะชำรุด แต่โดยทั่วไปแล้วการเดินระบบของอาคารใหม่ไม่ได้เป็นเรื่องที่เจ้าของบ้านต้องกังวลมากนัก

สภาพแวดล้อมและบริบทโดยรอบของอาคารเก่า

สภาพแวดล้อมและบริบทโดยรอบของอาคารเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากต่อการก่อสร้าง เพราะอย่างที่เราทราบกันดีว่าในแต่ละพื้นที่มีบริบทที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ถนนทางเข้าหน้างานที่หน้ากว้างแคบ ไม่มีพื้นที่วางวัสดุก่อสร้าง หรือแม้กระทั่งเรื่องโครงสร้างที่มีผนังร่วม ที่เรามักจะพบมากในการรีโนเวทตึกแถว ทั้งนี้การศึกษาสภาพหน้างานที่ดี จะส่งผลให้การวางแผนงานก่อสร้างเป็นไปได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น  

การออกแบบและการเขียนแบบ

เมื่อเจ้าของอาคารและผู้ออกแบบรับรู้เรื่องสภาพเดิมของอาคารแล้ว การออกแบบจะเป็นขั้นตอนต่อไป ซึ่งผู้ออกแบบจะต้องทำงานภายใต้ข้อจำกัดของโครงสร้างเดิม ที่จะเป็นการเปลี่ยนโฉมของเก่าที่มีข้อจำกัดให้สวยงามและตอบโจทย์เจ้าของอาคารมากที่สุดเท่าที่ขอบเขตของมันจะเป็นไปได้

รับ Brief และความต้องการของลูกค้า

ทีมงานออกแบบของเราได้รับบรีฟมาจากเจ้าของบ้านที่ต้องการจะปรับปรุงบ้านหลังนี้ให้เป็น Cooking Studio สำหรับสอนทำอาหาร มีพื้นที่ครัวที่ใหญ่ ใช้งานได้ดีสำหรับการทำอาหารและขนม ไปจนถึงการสอนคนที่มาเข้าคอร์สเรียนทำอาหาร และพื้นที่พักอาศัยที่ขนาดไม่ต้องใหญ่มากให้เพียงแค่เจ้าของบ้านสามารถเข้าพักอยู่ได้อย่างสบาย

ทำ Shop Drawing ของสภาพอาคารเดิม

การทำ Shop Drawing คือการนำข้อมูลสภาพเดิมอาคารมาเขียนเป็นแบบก่อสร้าง ที่ผู้ออกแบบจะใช้ยึดเป็นหลักสำหรับการออกแบบในขั้นตอนต่อไป Shop Drawing จะแสดงระยะต่างๆ ของอาคารเก่า โครงสร้าง วัสดุต่างๆ ไปจนถึงส่วนที่ทรุดโทรมที่เป็นปัญหาของอาคารเก่า ซึ่งผู้ออกแบบยังสามารถเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในอาคารเก่าผ่าน Shop Drawing ได้อีกด้วย

กระบวนการออกแบบ

ทีมงานออกแบบของ Too Architects ได้นำ Shop Drawing ของบ้านเก่าหลังนี้มาพิจารณา โดยเลือกที่จะเก็บโครงสร้างเสาคอนกรีตเสริมเหล็กไว้ และนำมาเป็นเกณฑ์สำคัญในการออกแบบต่อไป ซึ่งจะใช้โครงสร้างเดิมเป็นพื้นฐานและเพิ่มส่วนของโครงสร้างใหม่ที่เน้นการใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบาและแข็งแรง

การออกแบบ Space และ Function การใช้งาน

“Space” และ “Function” ของบ้านหลังนี้ได้มีการแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือ 1. พื้นที่ “Public” ที่เป็นพื้นที่สำหรับ Cooking Studio ที่ใช้ในการทำกิจกรรมสอนทำอาหาร มีห้องครัวที่มีพื้นที่รองรับอุปกรณ์ครัวต่างๆ ได้ มีห้องน้ำสำหรับลูกค้าและพื้นที่ซักล้างอยู่ด้านหลังของอาคาร และ 2. พื้นที่ “Private” เป็นพื้นที่พักอาศัยสำหรับเจ้าของบ้านอยู่บริเวณชั้นลอย ซึ่งจะประกอบไปด้วยพื้นที่ห้องนอน ห้องน้ำส่วนตัว ที่เก็บของ และบริเวณนั่งเล่นขนาดเล็ก ซึ่งจะขึ้นมาจากบันไดชั้นล่าง ที่แบ่งแยกพื้นที่ของเจ้าของบ้านและพื้นที่ประกอบธุรกิจอย่างชัดเจน

ส่วนพื้นที่ครัวชั้นล่างมีการใช้โถง Double-Volume สูงบริเวณกลาง Island ขนาดใหญ่ เพื่อสร้างบรรยากาศความสบายไม่ให้พื้นที่รู้สึกคับแคบจนเกินไปซึ่งเป็นผลมาจากการปิดผนังบ้านโดยรอบให้ทึบไม่ให้มีช่องเปิด เนื่องจากเจ้าของบ้านนั้นต้องการความเป็นส่วนตัวของพื้นที่สูงและบริบทโดยรอบของบ้านมีอาคารสูงอยู่ล้อมรอบอยู่ จึงเลือกที่จะใช้ช่องเปิดขนาดใหญ่ที่ชั้นล่างแทน เพื่อให้แสงจากธรรมชาติเข้ามาในพื้นที่ครัวได้

การเลือกใช้ประเภทของโครงสร้างที่เพิ่มเติมขึ้นมา

ทางทีมผู้ออกแบบเลือกที่จะใช้โครงสร้างเหล็ก I-beam และ เหล็กกล่อง สำหรับโครงสร้างที่เพิ่มเติมขึ้นมาเป็นหลัก เพราะมีน้ำหนักเบาติดตั้งใช้เวลาน้อยกว่า และที่สำคัญที่สุดนั้นเป็นการที่จะไม่เพิ่มน้ำหนักสำหรับโครงสร้างเดิมมากเกินไป พื้นที่ชั้นล่างทางผู้ออกแบบเลือกใช้ระบบคานคอนกรีตเสริมเหล็กที่จะช่วยรัดรอบเสาคอนกรีตเดิมไปในตัว และใช้พื้นระบบเทในที่และส่วนของชั้นลอยจะเป็นพื้นประเภทแผ่นพื้นสำเร็จรูปและเท Topping ความหนา 5-7 ซม.

การเลือกใช้วัสดุต่างๆ

ทางทีมผู้ออกแบบเลือกใช้ผนังสองชนิดผสมกัน คือ ผนังแบบก่ออิฐมวลเบาและผนังโครงคร่าวสมาร์ทบอร์ด ผนังภายในจะเน้นการใช้สีขาวและพื้นลายไม้สีอ่อน เพื่อช่วยเพิ่มความโปร่งและโล่งให้กับพื้นที่บ้าน และใช้บันได-ราวกันตกเหล็กสีขาวและสีดำเพื่อเน้นความเข้มและสร้างความแตกต่างให้กับพื้นที่ภายใน

ทำ Construction Drawing ของอาคารใหม่

หลังจากที่ขั้นตอนออกแบบเสร็จสมบูรณ์ก็จะเป็นขั้นตอนการเขียนแบบก่อสร้าง ซึ่งจะเป็นแบบที่ใช้ในการคำนวณ BOQ (Bill of Quantities) สำหรับงานก่อสร้างต่อไป ทั้งนี้แบบก่อสร้างและ BOQ จะมีความสัมพันธ์กับงบประมาณของเจ้าของอาคารที่กำหนดไว้ตั้งแต่เริ่มต้น ทั้งนี้ผู้ออกแบบจะคำนึงถึงงบประมาณการก่อสร้างเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดแก่เจ้าของอาคารอีกด้วย

การรื้อถอนอาคารเดิม

การรื้อถอนอาคารเดิมนั้นเป็นขั้นตอนแรกของการรีโนเวทอาคาร ซึ่งผู้ก่อสร้างจะต้องอาศัยแบบก่อสร้างเป็นแนวทางในการรื้อถอน ว่าจะรื้อถอนส่วนใด จะเก็บส่วนใด หรือจะนำวัสดุเก่าชนิดใดของอาคารเดิมมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ถ้าขั้นตอนการรื้อถอนดำเนินการไปอย่างละเอียดแล้ว นอกจากจะช่วยให้การดำเนินการก่อสร้างเป็นไปได้ง่ายขึ้น ยังจะเป็นการช่วยประหยัดงบประมาณของเจ้าของบ้านอีกด้วย

ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงเมื่อจะรื้อถอนอาคารเดิม

งานรื้อถอนเป็นงานที่ละเอียดอ่อน มีปัจจัยที่จะต้องคำนึงถึงมาก แต่ถ้าเจ้าของบ้านและผู้ก่อสร้างเข้าใจในปัจจัยต่างๆ งานรื้อถอนก็จะเป็นไปได้อย่างราบรื่น ซึ่งทางทีมงานขอยกปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงมาดังนี้

  1. สภาพโครงสร้างเดิม – การรื้อถอนต้องดำเนินการอย่างระมัดระวัง ไม่ให้กระทบกับโครงสร้างเดิม หรือให้กระทบน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  2. สภาพแวดล้อมโดยรอบ – เป็นเรื่องธรรมดาที่การรื้อถอนมักเกิดเสียงดังและฝุ่น ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อเพื่อนบ้านของเราได้ ทั้งนี้เจ้าของบ้านควรจะดำเนินการแจ้งเพื่อนบ้านให้ทราบเรื่องการรื้อถอนก่อนเริ่มงาน ว่าจะใช้เวลานานเท่าใด เพื่อที่จะไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง
  3. การขนวัสดุก่อสร้างและขยะจากการรื้อถอนทิ้ง - หลังจากการรื้อถอนแล้ว จะต้องคำนึงถึงพื้นที่ทิ้งขยะ เนื่องจากขยะที่เกิดจากการรื้อถอนนั้นมักจะมีจำนวนมากเสมอ ทั้งนี้ผู้ก่อสร้างและเจ้าของบ้านควรจะตกลงเรื่องของที่ทิ้งขยะให้ดีก่อนเรื่องงานรื้อถอน

การ Recycle วัสดุบางชนิดที่จะนำมาใช้ในการก่อสร้างได้

วัสดุที่ได้จากการรื้อถอนนั้นผู้ก่อสร้างอาจจะนำมาใช้งานได้ในงานบางประเภทเช่น งานเข้าแบบเพื่อเทคอนกรีตหรืองานค้ำยัน เป็นต้นทั้งนี้การรีไซเคิลวัสดุเหลือใช้นั้นจะเป็นผลดีเรื่องการประหยัดงบประมาณในก่อสร้างที่จะเกิดขึ้นซึ่งอาจจะมากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับหน้างานแต่ละงานที่ไม่เหมือนกัน

ในงานก่อสร้างบ้านหลังนี้ทางทีมงานของเราได้นำวัสดุชนิดเหล็กกล่องที่เป็นจันทันเก่าของบ้านมาใช้เป็นแบบสำหรับงานโครงสร้างเทคอนกรีตและนำเศษอิฐที่ได้การจากการทุบมาใช้ถมเพื่อปรับระดับพื้นของอาคารทั้งนี้เป็นการช่วยเจ้าของบ้านประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนของไม้แบบและดินที่จะต้องนำมาถมอีกด้วย

การทำ Shop Drawing

หลังจากที่ขั้นตอนการรื้อถอนเสร็จสิ้นแล้วผู้ออกแบบจะมาตรวจสอบภาพหน้างานของอาคารอีกครั้ง เพื่อที่จะมาทำ Shop Drawing เพิ่มเติมจากConstruction Drawing ที่ได้ทำไว้แล้วเป็นการตรวจสอบทั้งระยะและระดับต่างๆ ของอาคารรวมไปถึงสภาพโครงสร้างที่อาจจะได้รับผลกระทบจากงานรื้อถอนซึ่งอาจจะมีผลต่องานก่อสร้างที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

การทำ Shop Drawing หลังจากงานรื้อถอนอีกครั้งสำคัญอย่างไร

การทำ Shop Drawing อีกครั้งนั้นช่วยทำให้แบบที่จะใช้ในการก่อสร้างละเอียดมากขึ้นช่วยลดความผิดพลาดทางโครงสร้างที่อาจจะเกิดขึ้นและยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยของงานก่อสร้างอีกด้วยทั้งนี้เมื่อผู้ออกแบบทราบสภาพหน้าจริงๆ แล้วในบางครั้งข้อจำกัดทางการก่อสร้างอาจมีเพิ่มเข้ามา ทำให้งานออกแบบอาจจะต้องเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสมซึ่งทั้งทีมผู้ออกแบบและเจ้าของบ้านจะต้องตกลงกันในการหาทางออกที่ดีที่สุดเท่าที่ขอบเขตของโครงสร้างเดิมจะเป็นไปได้

งานก่อสร้างประเภทงานโครงสร้าง

งานก่อสร้างประเภทโครงสร้างคือขั้นตอนแรกของงานก่อสร้างซึ่งความปลอดภัยคือปัจจัยที่สำคัญที่สุดทั้งในเรื่องของความปลอดภัยของทีมงานก่อสร้างไปจนถึงความปอดภัยของเจ้าของบ้านในโอกาสนี้ Too Architects ขออธิบายขั้นตอนการก่อสร้างของบ้านหลังนี้อย่างละเอียดเพื่อที่จะให้เป็นประโยชน์แก่เจ้าของอาคารเก่าทุกท่านที่มีความประสงค์ที่จะรีโนเวทอาคารอย่างสวยงามถูกต้อง และปลอดภัย

โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก

เนื่องจากสภาพเดิมของบ้านหลังนี้มีฐานรากเดิมอยู่แล้วทางทีมงานก่อสร้างจึงเริ่มงานจากคานคอดินของบ้านซึ่งใช้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กรัดรอบเสาเดิมเพื่อเพิ่มให้มีความแข็งแรงและมั่นคงมากขึ้นในส่วนของพื้นชั้นล่างใช้โครงสร้างพื้นชนิดเทในที่ โดยเทต่อจากคานคอดินที่หล่อขึ้นมาใหม่และยังใช้วัสดุรีไซเคิลจากเหล็กจันทันเก่าของบ้านมาทำเป็นแบบหล่อคอนกรีต  

โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก

โครงสร้างเหล็กมีบทบาทที่สำคัญเป็นอย่างมากในการรีโนเวทบ้านหลังนี้ทั้งนี้ Too Architects จะขออธิบายขั้นตอนการก่อสร้างโครงสร้างเหล็กของบ้านตั้งแต่การเลือกขนาดเหล็กความหนา ไปจนถึงการติดตั้งโครงสร้างที่เกิดขึ้นในการก่อสร้างการเลือกชนิดวัสดุที่ถูกต้องจะช่วยให้งานก่อสร้างออกมาสวยงาม ปลอดภัย แข็งแรงและยังประหยัดงบประมาณของเจ้าของบ้านอีกด้วย

คานเหล็ก

คานเหล็กของบ้านหลังนี้ทางทีมงานก่อสร้างเลือกใช้คานเหล็ก I-beam ขนาด 200 x100 x 7 x 10 มม. ความยาว 6 เมตรสั่งตัดตามความยาวที่ต้องการจากโรงงาน เชื่อมติดกับเพลทเหล็กขนาด 150 x 150x 12 มม. ที่ยึดกับหัวเสาด้วยการเทปูนนอนชริ้งค์เกราท์ 750ksc เพื่อความแข็งแรงของโครงสร้างที่จะต้องรับน้ำหนักเพิ่มเติม

เสาเหล็ก

เสาเหล็กของบ้านนั้นต่อขึ้นมาจากคานเหล็ก I-beam เนื่องจากเสาเหล็กทั้งชุดของบ้านนั้นรับน้ำหนักเพียงแค่โครงหลังคาของบ้าน จึงเลือกใช้เสาเหล็กกล่องสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 150 x 150 x 3.2 มม. เชื่อมติดกับคานเหล็ก I-beam ด้านล่าง และใช้อะเสเหล็กกล่องขนาด 50 x 100 x 2.3 มม. ปลายเสาเอาไว้เพื่อที่จะวางจันทันต่อไป

โครงหลังคาเหล็กและวัสดุมุงหลังคา

องค์ประกอบที่สำคัญของโครงหลังคาทรง “Lean-To” หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ “เพิงหมาแหงน” ของบ้านหลังนี้มีจันทันเหล็กกล่องขนาด 50 x 100 x 1.8 มม ที่เว้นระยะห่างทุกๆ 1 เมตร และแปเหล็กกล่องขนาด ขนาด 25 x 25 x 1.2 มม. ที่เว้นระยะห่างทุกๆ 1 เมตรตามสเปคของเมทัลชีมชนิด PU foam ที่ใช้เป็นวัสดุมุงหลังคา และปิดเชิงชายด้วยเหล็กแผ่นหนา 3 มม โดยรอบของหลังคา

หลังคาทรงเพิงหมาแหงนนี้เป็นที่นิยมมากในปัจจุบันเนื่องจากสามารถระบายน้ำฝนได้ดี ใช้วัสดุในการก่อสร้างโครงหลังคาไม่มากและมักจะใช้ควบคู่กับเมทัลชีท เนื่องจากเมทัลชีทเป็นวัสดุมุงที่สามารถเลือกขนาดความยาวได้ความต้องการ มีความยาวต่อแผ่นสูงเพราะรีดความยาวแผ่นมาจากโรงงาน ทำให้สามารถใช้คู่กับโครงหลังคาหลังคาที่มีความชันน้อยได้ดี

แผ่นพื้นและพื้นเทในที่

ในส่วนของโครงสร้างพื้นชั้นลอยนั้น มีการเลือกใช้พื้นสองชนิด คือ “แผ่นพื้นสำเร็จรูป” ที่ใช้วางบนคาน I-beam ปูด้วยตะแกรงเหล็ก ไวร์เมช ศก. 3 มม. ขนาดตาราง 20 x 20 มม. และเท Topping ด้วยปูน 240 ksc หนา 5 ซม. และ “พื้นเทในที่” ในส่วนของห้องน้ำที่ใช้การเข้าแบบด้วยการสานเหล็กกลม 9 มม. และเทปูน 350 ksc ผสมน้ำยากันซึมหนา 10 ซม. ทั้งนี้การเลือกใช้ชนิดโครงสร้างพื้นที่ต่างกันขึ้นอยู่กับประเภทการใช้งานที่ต่างกันด้วย

งานก่อสร้างประเภทงานสถาปัตยกรรม (ผนัง)

หลังจากที่งานโครงสร้างเสร็จสิ้นแล้วงานผนังจะเป็นขั้นตอนต่อไปของการก่อสร้าง โดยการรีโนเวทบ้านหลังนี้ทางทีมงานก่อสร้างเลือกใช้ผนังสองประเภทได้แก่ “ผนังก่ออิฐมวลเบา” และ “ผนังเบาสมาร์ทบอร์ด” เพราะมีน้ำหนักเบา มีความแข็งแรง และยังไม่เป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่โครงสร้างเดิมมากจนเกินไปอีกด้วย

ผนังก่ออิฐมวลเบา

ผนังก่ออิฐมวลเบาจะเป็นส่วนที่เลือกใช้ในพื้นที่ที่ติดกับห้องน้ำ เนื่องจากสามารถทนความชื้นได้ดีกว่าผนังเบาสมาร์ทบอร์ดและต้องมีการปูกระเบื้องห้องน้ำทับ อิฐมวลเบายังมีข้อดีในเรื่องของความทนต่อสภาพอากาศ ป้องกันความร้อนได้ดี ดูดซับเสียงได้ดี และมีน้ำหนักเบา

ผนังเบาสมาร์ทบอร์ด

ผนังเบาสมาร์ทบอร์ดจะเป็นส่วนที่เลือกใช้ในพื้นที่อื่นที่ไม่ใช่ห้องน้ำ โดยเลือกใช้ที่ความหนา 8 มม. สำหรับผนังภายใน และความหนา 10 มม. สำหรับผนังภายนอก ยึดติดด้วยโครงเคร่าสำเร็จรูปตัว U และตัว C ผนังเบาสมาร์ทบอร์ดมีน้ำหนักเบา แข็งแรง มีความเหนียวและยืดหยุ่น ไม่มีปัญหาเรื่องปลวก และทนต่อความชื้นทั้งภายในและภายนอกได้ดี

งานระบบไฟฟ้า ประปาและสุขาภิบาล

ก่อนที่จะเริ่มงานฉาบผิวผนังของบ้านนั้น จะเป็นขั้นตอนของการเริ่มทำงานกรีดผนังเพื่อเดินท่อระบบไฟฟ้าและประปาของบ้าน ซึ่งท่อของทั้งสองระบบนี้ไม่ควรจะอยู่ในช่องชาร์ป หรือรอยกรีดเดียวกัน เนื่องจากเมื่อบ้านเสร็จสมบูรณ์และใช้งานผ่านระยะเวลาไปนาน อาจจะทำให้เกิดปัญหาเมื่อมีการรั่วซึมของท่อน้ำหรือท่อไฟฟ้าที่ชำรุด เมื่อท่อของทั้งสองระบบอยู่ใกล้กันจะเกิดปัญหาไฟช็อตได้

งานระบบควรจะเริ่มทำตอนไหนของขั้นตอนการก่อสร้าง

งานระบบสุขาภิบาลบางส่วนนั้นสามารถเริ่มก่อนงานก่อสร้างประเภทสถาปัตยกรรมได้เลย เช่น งานวางระบบระบายน้ำ ระบบบำบัดน้ำ ที่อยู่ภายใต้โครงสร้างชั้นล่าง หรือจะเป็นการฝังท่อบางส่วนก่อนจะเทพื้นคอนกรีตของห้องน้ำ ทั้งนี้อยู่ที่การวางแผนการก่อสร้างตั้งแต่เริ่มต้น  ในส่วนของงานเดินท่อไฟฟ้าและท่อน้ำบางส่วนนั้น มักจะทำหลังจากการก่อผนัง เนื่องจากจะต้องฉาบผนังทับเพื่อเก็บความเรียบร้อยของท่อสายไฟและท่อน้ำ

งานระบบไฟฟ้า

พื้นฐานของงานระบบไฟฟ้านั้น ทางทีมงานก่อสร้างจะอาศัยแบบไฟฟ้าเป็นเป็นเกณฑ์ในการคำนวณโหลดไฟฟ้าว่าเป็นเท่าใด ซึ่งจะคำนวณจากปริมาณเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะมีในบ้าน จำนวนดวงไฟแสงสว่าง ปลั๊กไฟ หรือ สิ่งต่างๆ ที่ใช้ไฟฟ้า ทั้งนี้เจ้าของบ้านจะต้องแจ้งให้กับทั้งทีมงานออกแบบและทีมงานก่อสร้างทราบถึงความต้องการในการใช้งานไฟฟ้าเบื้องต้น

ในการเดินระบบท่อไฟฟ้าของบ้านหลังนี้ ทางทีมงานก่อสร้างเลือกที่จะใช้ท่อ PVC สีเหลือง เป็นท่อร้อยสายไฟ เพราะมีราคาถูก ช่วยให้ประหยัดงบประมาณของเจ้าของบ้านและเนื่องจากท่อจะต้องฝังในผนังอยู่แล้ว จึงไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ท่อโลหะที่มีราคาสูง

งานระบบประปาและสุขาภิบาล

ในงานระบบประปาและสุขาภิบาลนั้น จะต้องคำนึงถึงแนวทางการเดินระบบตั้งแต่น้ำดีที่เข้ามาสู่ตัวบ้าน ไปจนถึงการบำบัดน้ำเสียผ่านถังบัดบำน้ำ หรือที่รู้จักกันในชื่อ “ถังแซ็ท” ไปจนถึงการระบายออกสู่สาธารณะ ประเภทของน้ำในงานระบบประปาและสุขาภิบาลแบ่งเป็น 4 ประเภท ดังนี้  

  1. น้ำดี
    • “น้ำดี” หรือ “Cold Water” นั้นเริ่มต้นตั้งแต่น้ำที่เข้ามาผ่านมิเตอร์ของบ้านไปสู่ถังเก็บน้ำ ซึ่งเจ้าของบ้านจะต้องให้ข้อมูลเรื่องปริมาณการใช้งานน้ำและจำนวนสมาชิกคนในบ้านคร่าวๆ เพื่อจะใช้ในการคำนวณขนาดของถังเก็บน้ำ และใช้ปั๊มน้ำจ่ายไปสู่อุปกรณ์ต่างๆ ผ่านท่อน้ำดีขนาด 2”
  2. น้ำทิ้ง
    • “น้ำทิ้ง” หรือ “Drain Water” คือน้ำที่มากจาก “Floor Drain” และรางน้ำฝนจากหลังคา จะใช้ท่อขนาด 2”
  3. น้ำเสีย
    • “น้ำเสีย” หรือ “Wasted Water” คือน้ำที่มากจากอ่างล้างมือในห้องน้ำและ “Floor Drain” ในห้องน้ำจะใช้ท่อขนาด 2”
  4. น้ำโสโครกจากโถส้วม
    • “น้ำโสโครกจากโถส้วม” หรือ “Sewage Water” คือน้ำที่มากจากโถส้วมในห้องน้ำจะใช้ท่อขนาด 4”

งานก่อสร้างประเภทงานสถาปัตยกรรม (ฉาบ)

หลังจากที่งานเดินท่องานระบบเสร็จสิ้นแล้ว จะเป็นขั้นตอนของงานฉาบผนังก่ออิฐมวลเบาและผนังเบาสมาร์ทบอร์ด ซึ่งผนังทั้งสองประเภทจะใช้ชนิดของปูนฉาบและวิธีฉาบที่แตกต่างกัน

ฉาบผนังอิฐมวลเบา

การฉาบผนังอิฐมวลเบานั้นควรฉาบปูนที่ความหนา 5-10 มม. ไม่ต้องฉาบหนาเหมือนผนังอิฐมอญ เพราะหากเป็นอิฐมวลเบาที่มีคุณภาพมาตรฐาน ก้อนอิฐจะมีผิวเรียบได้ขนาด สามารถก่อได้ดิ่งได้แนวง่าย ไม่เปลืองปูนฉาบ

ฉาบผนังเบาสมาร์ทบอร์ด

การฉาบผนังเบาสมาร์ทบอร์ดจะเริ่มจากการฉาบเก็บรอยต่อระหว่างแผ่น ซึ่งต้องใช้ปูนประเภทปูนฉาบเก็บรอยต่อของซีเมนต์บอร์ด และปิดท้ายด้วยการฉาบบางหรือ (Skim Coat) ที่ความหนา 0.30 -3.0 มม. จะทำให้ผนังเรียบเนียนพร้อมที่จะทาสีรองพื้นต่อไป

งานก่อสร้างประเภทงานสถาปัตยกรรม (บันได, ราวบันไดและราวกันตก)

งานก่อสร้างบันไดของบ้านหลังนี้ทางทีมงานก่อสร้างเลือกที่จะดำเนินการหลังจากการฉาบผิวผนัง เนื่องจากจะเป็นการป้องกันการชำรุดของบันไดที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการดำเนินขั้นตอนการก่อสร้างอื่นอยู่ โครงสร้างบันไดของบ้านเป็นโครงสร้างเหล็กที่เน้นสีดำและสีขาวเป็นหลัก ใช้แม่บันไดเหล็ก I-beam ขนาด 200 x 100 x 7 x 10 มม. เชื่อมกับลูกบันไดเหล็กพับหนา 6 มม. ในส่วนของราวบันไดละราวกันตกนั้น เลือกใช้เหล็กกลมเป็นระแนงแนวตั้งกับราวจับเหล็กฉาก

งานก่อสร้างประเภทงานสถาปัตยกรรม (Finishing)

งานประเภท Finishing จะเป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเก็บงานสถาปัตยกรรมก่อนจะติดตั้งอุปกรณ์ เพราะงานก่อสร้างประเภทนี้ต้องการฝีมือช่างที่มีความละเอียดสูง ไม่ควรจะดำเนินการหลังจากที่การก่อสร้างประเภทโครงสร้างเสร็จสิ้นหมดแล้ว

งานกระเบื้องห้องน้ำ

งานกระเบื้องห้องน้ำมีทั้งในส่วนของพื้นและผนัง กระเบื้องพื้นห้องน้ำนั้นต้องมีระดับความลาดเอียงของพื้นที่เหมาะสม เพื่อให้น้ำสามารถระบายลงท่อระบายน้ำได้ ในส่วนของผนังที่ต้องได้ระยะดิ่งที่ตรง ไม่คดเอียงและจะต้องยาแนวตามร่องกระเบื้องทุกแผ่นไม่ว่าจะเป็นส่วนของพื้นและผนังด้วยปูนยาแนวที่ได้คุณภาพ

งานฝ้าและสีฝ้า

งานฝ้าจะเริ่มหลังจากที่งานผิวผนังเสร็จสิ้นแล้ว การขึ้นโครงฝ้าจะใช้ซีลายขึ้นเป็นตารางโดยเว้นระยะห่างช่องละ 40 ซม. และใช้ยิปซั่มบอร์ดความหนา 9 มมเป็นวัสดุฝ้า ในส่วนของห้องน้ำจะมีการใช้ยิปซั่มต่างชนิดจากพื้นที่ภายใน ซึ่งจะเป็นยิปซั่มบอร์ดชนิดกันชื้น ส่วนของฝ้าภายนอกของบ้านที่ต้องโดนแดดและฝนอยู่ตลอดเวลานั้น ทางทีมงานก่อสร้างเลือกใช้สมาร์ทบอร์ดความหนา 6 มม. เพราะมีความสามารถในการทนทานต่อสภาพอากาศและแข็งแรงมากกว่ายิปซั่มบอร์ด

ขั้นตอนการทำสีฝ้านั้นจะเริ่มจากการฉาบบาง (Skim Coat) ที่ความหนา 0.30 -3.0 มม. และลงสีรองพื้น จากนั้นค่อยลงสีจริงประมาณ 2-3 รอบ สีจึงจะติดทน และอยู่ได้นาน

งานสี

งานสีคืองานที่ต้องอาศัยความละเอียดและการทาสีที่เสมอกันของช่างสี ทั้งนี้การเลือกชนิดสีที่ใช้ก็มีความแตกต่างกันในแต่ละชนิดของพื้นผิวและพื้นที่ที่ต้องทาสี

การเลือกใช้สีแต่ละประเภท

การเริ่มงานสีนั้นเริ่มจากการทาสีรองพื้น ซึ่งบ้านหลังนี้มีการใช้สีรองพื้น 2 ประเภท คือ สีรองพื้นปูนเก่าสำหรับผนังสมาร์ทบอร์ดและสีรองพื้นปูนใหม่สำหรับผนังอิฐมวลเบา การทาสีรองพื้นจะทาเพียงแค่ 1 รอบเท่านั้น เมื่อสีรองพื้นแห้งดีแล้ว จะเป็นการทาสีจริงของผนัง

สีจริงนั้นแบ่งเป็น 2 ประเภทคือสีทาภายนอกและสีทาภายใน สีจริงจะทามากถึง 2-3 รอบสำหรับสีอ่อน แต่ถ้าเป็นสีที่สดและเข้มมากๆ อาจจะต้องทาถึง 4-5 รอบเพื่อให้สีติดทนและสวยงาม

งานกระเบื้องพื้นและบัวพื้น

กระเบื้องพื้นของบ้านหลังนี้เลือกใช้เป็นกระเบื้องยางลายไม้ชนิดทากาว ให้สัมผัสที่คล้ายไม้และให้ความรู้สึกอบอุ่น มีความนุ่มและยืดหยุ่น ง่ายต่อการซ่อมแซมชิ้นส่วนกระเบื้องที่อาจชำรุดในอนาคต ใช้เวลาปูรวดเร็วและปิดขอบวัสดุด้วยบัวพื้นลายไม้

งานติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ

หลังจากงานประเภท Finishing เสร็จสิ้นแล้วจะมีการทำความสะอาดครั้งใหญ่ 2-3 รอบ เนื่องจากระหว่างงานก่อสร้างทุกขั้นตอนนั้นทำให้เกิดฝุ่นและขยะเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้หลังจากทำความสะอาดเรียบร้อยแล้วจะเป็นการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ ของบ้าน

อุปกรณ์งานระบบไฟฟ้า

อุปกรณ์ของงานระบบไฟฟ้าที่ติดตั้งในขั้นตอนนี้ได้แก่ อุปกรณ์ดวงไฟแสงสว่าง หน้ากากสวิตซ์และปลั๊กไฟ เครื่องปรับอากาศและเครื่องดูดควัน หลังจากที่ติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทางทีมงานก่อสร้างจะทำการตรวจสภาพการใช้งานของงานระบบไฟฟ้าทุกจุดอย่างละเอียด เพื่อความปลอดภัยของเจ้าของบ้านเมื่อเข้าใช้งานและอยู่อาศัย

อุปกรณ์งานระบบประปาและสุขาภิบาล

อุปกรณ์ในงานประเภทนี้ไม่ว่าจะเป็น โถส้วม อ่างล้างมือ สายชำระ ฝักบัว หรือก๊อกน้ำ จะทำการติดตั้งหลังจากปูกระเบื้องเสร็จเรียบร้อย ทั้งนี้ในขั้นตอนการติดตั้งจะต้องดูบริเวณรอยต่อให้ดี เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการรั่วซึมของอุปกณ์หลังจากที่ผ่านการใช้งานไปเป็นระยะเวลานาน

ประตู – หน้าต่าง

ในงานติดตั้งบานกระจก บานหน้าต่างและประตูบานเลื่อนอลูมิเนียมนั้นสามารถดำเนินการก่อนหรือหลังจากทำสีก็ได้ ขึ้นอยู่กับแผนงานการก่อสร้างที่ทีมงานก่อสร้างวางไว้ ทั้งนี้สำหรับบ้านหลังนี้นั้นทางทีมงานก่อสร้างเลือกที่จะทำเป็นขั้นตอนสุดท้าย เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่อาจทำให้บานอลูมิเนียมที่ติดตั้งได้รับความเสียหายได้

การเลือกบานอลูมิเนียมนั้นทีมงานออกแบบจะต้องให้ข้อมูลต่างๆ แก่เจ้าของบ้านไม่ว่าจะเป็น สีและความหนาของกระจกและกรอบอลูมิเนียม ชนิดการเปิดของบาน ไปจนถึงการใช้ดีเทลต่างๆ ของการติดตั้ง ทั้งนี้จะต้องสัมพันธ์กับงบประมาณของเจ้าของบ้านที่มีด้วย

สำหรับบานประตูภายในของบ้านหลังนี้มีทั้งชนิดประตูบานเปิดเดี่ยวและประตูบานเลื่อน โดยเน้นการใช้ประตูวัสดุบาน UPVC เพราะมีน้ำหนักเบา แข็งแรง ทนทานต่อปลวกและมีราคาประหยัด

งาน Built-in

งาน Built-in ของบ้านหลังนี้มีเพียงแค่ Island บริเวณห้องครัว ที่ขึ้นโครงด้วยเหล็กกล่องปิดผิวด้วยแผ่นวีเนียร์ไม้ และวางท็อปด้วยแผ่นหินอ่อนขนาดใหญ่ที่ใช้สำหรับการทำขนม และชั้นวางของสำหรับหิ้งพระหน้าห้องนอนที่เน้นการใช้แผ่นวีเนียร์ลายไม้สีอ่อน ทั้งนี้งาน Built-in เป็นงานที่สามารถออกแบบและก่อสร้างได้ตามต้องการของเจ้าของ เนื่องจากบางครั้งเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวตามตลาดอาจไม่มีขนาดตามที่ต้องการ การใช้เฟอร์นิเจอร์ Built-in ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับพื้นที่ที่จำกัดหรือความต้องการที่เฉพาะ

ส่งมอบงาน

หลังจากที่การก่อสร้างทุกขั้นตอนเสร็จสมบูรณ์แล้ว ทางทีมงานก่อสร้างจะดำเนินการทำความสะอาดอีก 2-3 ครั้ง และให้เจ้าของบ้านตรวจสภาพความเรียบร้อยต่างๆ ของงานก่อสร้างก่อนส่งมอบงาน ไม่ว่าจะเป็นงานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรม งานระบบไฟฟ้า งานระบบประปาสุขาภิบาล และงาน Built-in เพื่อผลประโยชน์แก่เจ้าของบ้านเอง และในขั้นตอนนี้ทางทีมงานก่อสร้างจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการแก้ไขจุดต่างๆ ที่อาจเกิดปัญหา ชำรุดหรือเสียหายทั้งหมดก่อนจะส่งมอบงานได้

ถือว่าเป็นอันเสร็จสิ้นสำหรับขั้นตอนการรีโนเวทบ้านเก่าชั้นเดียวอายุกว่า 30 ปี โดย Too Architects หวังว่าข้อมูลต่างๆ ในแต่ละขั้นตอนของบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกท่านไม่มากก็น้อย และทางเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านจะได้นำข้อมูลและรายละเอียดต่างๆ ที่ได้จากบทความนี้ไปใช้กับอาคารเก่าที่รอวันได้รับการแปลงโฉมของท่านอยู่ งานรีโนเวทนั้นไม่ยากอย่างที่คิด หากทำอย่างถูกวิธีและถูกขั้นตอน แต่ขอให้ทุกท่านตระหนักไว้เสมอว่าการรีโนเวทอาคารเก่านั้นไม่ใช่การสร้างใหม่ แต่เป็นการเปลี่ยนโฉมของเก่าที่มีข้อจำกัดให้สวยงามและตอบโจทย์ที่สุดเท่าที่ขอบเขตของตัวอาคารเองจะเป็นไปได้

หากต้องการคำปรึกษาเกี่ยวกับการรีโนเวทและการออกแบบอาคารเก่าสามารถ คลิ๊กที่นี่

หรือส่งรายละเอียดมาที่ E-mail : admin@too-architects.com หรือ โทร 061-268-2281

ทาง Too Architects ยินดีให้คำปรึกษาโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใดๆ