อยากได้บ้านที่มีมาตรฐานต้องรู้อะไรบ้าง
นอกจากความสวยงามในการออกแบบและตกแต่งตัวบ้านให้เหมาะสมกับผู้ใช้งานแล้ว การจะสร้างบ้านสักหลังยังมีรายละเอียดอีกมากที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้บ้านที่มีคุณภาพ จำเป็นต้องมีกฏเกณ์ต่างๆเข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางในการปฎิบัติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เจ้าของบ้านควรต้องมีเข้าใจกฎเกณฑ์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การก่อสร้างได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่ทุกฝ่ายยอมรับ และอีกทั้งเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อพิพาทย์ระหว่างการก่อสร้าง
มาตรฐานก่อสร้าง คือ ข้อความ ระเบียบวิธี ข้อบังคับ หรือเอกสาร ที่ได้รับความเห็นชอบยอมรับและเกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง โดยให้นำเกณฑ์มาใช้สำหรับเทียบเชิงปริมาณและคุณภาพหรือเป็นแนวทางการปฏิบัติ ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดจนสำเร็จงานที่ได้รับมอบหมาย โดยเกณฑ์ที่นำมาใช้นั้นไม่ใช่ใครจะคิดอะไรก็ได้ แต่ต้องเป็นเกณฑ์ที่คนทั่วไปยอมรับ โดยจะดูจัดทำโดย คณะกรรมการจากสาขาวิชาชีพต่างๆไม่ว่าจะเป็น สภาวิศวกรรม สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ นิติกร และผู้เชี่ยวชาญกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกันพิจารณา
การก่อสร้างบ้านให้เสร็จสมบูรณ์ขึ้นมาหนึ่งหลัง จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมกัน โดยมีผู้รับเหมาเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างเป็นหลัก แต่อย่างไรก็ตามยังมีเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการที่บ้านถล่มลงมาหรือความเสียหายที่เกิดจากความไม่ได้มาตราฐานในขบวนการก่อสร้าง จึงเป็นที่มาทำให้ต้องมีการตกลงกันทั้งสองฝ่ายระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้าง ถึงงบประมาณที่จ่ายไป จะต้องสัมพันธ์กับปริมาณงานและคุณภาพที่ตกลงกันไว้ โดยมาตรฐานจะเป็นเกณฑ์ที่กำหนดว่าราคาเท่าไหร่ถึงจะสัมพันธ์กับปริมาณงาน ขอบเขตงาน และคุณภาพที่ตกลงกันไว้
อยากได้บ้านที่มีมาตรฐานต้องรู้อะไรบ้าง 6 มาตรฐานก่อสร้างบ้าน
มาตรฐานตามกฎหมาย
มาตรฐานวิชาชีพ
มาตรฐานการก่อสร้างที่คนทั่วไปและสากลยอมรับ
มาตรฐานที่เป็นไปตามสัญญา
มาตรฐานตามระดับของอุตสาหกรรม
มาตรฐานที่เป็นไปตามวัสดุที่ใช้
การก่อสร้างที่ถูกกฎหมาย ประกอบไปด้วยมาตรฐานตามกฎหมายทั้งหมด 4 ข้อคือ
หนึ่งในข้อกฏหมายที่หลายๆคนมองข้าม คือกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง เป็นกฎหมายที่ควบคุมเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน มีเพียงที่ดินใช่ว่าอยากจะสร้างบ้านก็สร้างได้เลย แต่ต้องคำนึงถึงความถูกต้องตามกฎหมายผังเมืองผังเมือง ซึ่งจะกำหนดว่าพื้นที่ไหนสามารถสร้างอะไรได้ หรือสร้างอะไรไม่ได้บ้าง ตัวอย่างที่พบได้บ่อยเช่น เช่น บางพื้นที่เป็นที่ดินเพื่ออยู่อาศัยห้ามสร้างโรงงาน บางพื้นที่มีการกำหนดความสูงของอาคารที่สามารถสร้างได้ บางพื้นที่กำหนดไว้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม จึงจำเป็นทุกครั้งก่อนเริ่มสร้างบ้าน ต้องตรวจสอบความถูกต้องตามกฎหมายผังเมืองให้ชัดเจนก่อน
กฎหมายควบคุมอาคาร ถูกกำหนดขึ้นมาเพื่อควบคุมการก่อสร้างให้มีความปลอดภัยแข็งแรง เหมาะสมต่อการอยู่อาศัย โดยจะครอบคลุมเรื่องของระบบรักษาความปลอดภัยเจ้าของบ้านด้วย ไม่ว่าจะเป็น ระบบป้องกันอัคคีภัย ระบบระบายอากาศภายในที่อยู่อาศัย ระยะร่น ช่องเปิดหน้าต่าง บันไดหนีไฟ หรือพื้นที่ว่างปราศจากสิ่งปกคลุม ขนาดของบันได และห้องน้ำ เพื่อให้ได้มาซึ่งมาตรฐานและมีความปลอดภัย หากสร้างบ้านไม่ถูกต้องตามกฎหมายควบคุมอาคาร อาจจะทำให้ต้องเสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายในการแก้ไขให้ถูกต้องอีก ร้ายแรงที่สุดอาจจะถูกบังคับรื้อถอนก็เป็นได้
การสร้างบ้านเองเป็นธุรกิจที่ถูกควบคุมโดยสัญญาที่เป็นข้อตกลงและยอมรับกันทั้งสองฝ่าย ระหว่างผู้ว่าจ้าง (เจ้าของบ้าน) กับผู้รับจ้าง (บริษัทรับสร้างบ้าน) โดยต้องมีชื่อรายการถูกต้องตรงตามรายการที่ตั้งงบประมาณไว้ในรายละเอียดการจัดซื้อจัดจ้าง และต้องมีกำหนดระยะเวลาส่งมอบงานหรือระยะเวลาดำเนินการ รวมไปถึงระยะเวลาชำระเงิน ระยะเวลารับประกัน โดยจะมีรายละเอียดกำหนดไว้อย่างชัดเจน
ความปลอดภัยในการก่อสร้างนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง หากแรงงานบางคนขาดระเบียบวินัย เรื่องการรักษาความปลอดภัยในการทำงาน อาจจะส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ก่อสร้าง รวมไปถึงปัญหาเรื่องความปลอดภัยในหมู่คนงานด้วยกันเองได้ อีกทั้งยังมีปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่รอบข้าง เช่น เสียง หรือฝุ่นละออง จึงทำให้มาตรฐานกฎหมายความปลอดภัยทำหน้าที่ควบคุมงานระหว่างก่อสร้าง ให้เกิดความปลอดภัยทั้งผู้ทำงาน และผู้คนบริเวณรอบพื้นที่ก่อสร้าง
การสร้างบ้านหรืออาคารที่มีขนาดใหญ่ จำเป็นต้องมีการขออนุญาตก่อสร้างโดยจำเป็นต้องมีนักวิชาชีพที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นผู้รับรองแบบที่ใช้ประกอบการขออนุญาตก่อสร้าง โดยแบ่งเป็น 2 มาตรฐานวิชาชีพ คือ
สถาปนิกคือผู้ออกแบบอาคารที่มีความเข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างอาคารเป็นอย่างดี โดยจะทำหน้าที่คุยรายละเอียดของพื้นที่ใช้สอย ประโยชน์การใช้สอย รวมถึงรายละเอียดต่างๆ ของบ้านให้มีมาตรฐานและปลอดภัยตามที่กฎหมายกำหนด โดยวิชาชีพสถาปนิก อาจจะแบ่งออกเบื้องต้นได้ 3 ประเภทซึ่งทำงานร่วมกัน เพื่อให้สามารถตอบโจทย์ความต้องการของเจ้าของบ้านมากที่สุด
คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ออกแบบบ้านหรืออาคารประเภทต่างๆให้สวยงาม เพื่อให้ได้พื้นที่ และประโยชน์ใช้สอยตามความต้องการของเจ้าของบ้าน อีกทั้งคำนึงถึงสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ กฎหมาย ของบ้านนั้นๆ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ ความสามารถ ทั้งทางศิลปะและเทคนิค โดยประสานงานกับวิชาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างบ้าน
งานของสถาปนิกยังรวมไปถึง การขออนุญาตก่อสร้าง และติดต่อประสานงานกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ให้คำแนะนำกับเจ้าของบ้านในขั้นตอนต่างๆ ของการสร้างบ้าน การตรวจสอบงานก่อสร้างให้เป็นไปตามที่ออกแบบ ทั้งในด้านราคาค่าก่อสร้างและพลังงานภายในบ้าน ให้สามารถสนองความต้องการของผู้อาศัย และผู้ใช้อาคารสูงสุด ขอบเขตของงาน (scope of work) จะแตกต่างกันออกไปตามแต่จะตกลงกับเจ้าของบ้าน
นักออกแบบตกแต่งภายใน มีหน้าที่ออกแบบภายในบ้าน ซึงเป็นอาชีพที่มีความเชี่ยวชาญด้านงานตกแต่งภายในโดยเฉพาะ ทั้งในด้านศิลปะ รายละเอียดความสวยงาม เลือกวัสดุภายในอาคาร และควบคุมงานก่อสร้างภายในบ้าน ขอบเขตของงานรวมไปถึง การเลือกเฟอร์นิเจอร์ การทำเฟอร์นิเจอร์ built-in สุขภัณฑ์ ชุดครัว และให้คำแนะนำเรื่องของตกแต่งต่างๆภายในบ้าน
งานตกแต่งภายในถือเป็นงานที่มีความสำคัญไม่แพ้กับงานออกแบบตัวบ้าน เพราะงานตกแต่งภายในเป็นสิ่งที่เจ้าของบ้านอยู่ใกล้ชิดมากที่สุดและเป็นงานที่มีมูลค่าสูงขึ้นอยู่กับรสนิยมของเจ้าของบ้าน
คือ ผู้ที่ทำหน้าที่ออกแบบ วางแผนงาน เขียนแบบ เกี่ยวข้องกับพื้นที่สีเขยว (Green Area) โดยจะมีความเชี่ยวชาญในการจัดสวน และมีความรู้เกี่ยวกับต้นไม้มากกว่าสายอาชีพอื่น เรามักจะพบเห็นภูมิสถาปนิกงานที่มีพื้นที่ภายนอกขนาดใหญ่หรือบ้านที่มีสวนขนาดใหญ่ อย่างเช่น สถานประกอบการ สนามกอล์ฟ และสวนสาธารณะ หรือหากเจ้าของบ้านต้องการพื้นที่สวนรอบบ้านที่มีคุณภาพสวยงามกว่าสวนทั่วไป ควรเลือกจ้างภูมิสถาปนิกซึ่งเป็นผู้ที่ศึกษาเรื่องภูมิสถาปัตยกรรมมาโดยตรง ซึ่งจะทำงานนี้ได้ดีกว่าสถาปนิกทั่วไป แต่หากเจ้าของบ้านมีงบประมาณไม่มากก็อาจจะไม่มีความจำเป็นต้องจ้างภูมิสถาปนิก เช่นเดียวกันกับนักออกแบบตกแต่งภายใน
เป็นมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับออกแบบและควบคุมงานให้เป็นไปตามหลักวิศวกรรมความแข็งแรงและปลอดภัย โดยหลักแล้ววิศวะจะทำหน้าที่ประยุกต์ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์เพื่อการออกแบบและพัฒนาโครงสร้าง, เครื่องจักร, เครื่องมือ, หรือกระบวนการผลิต ตามมาตรฐานวิชาชีพวิศวกรรมจะต้องการคำนวณส่วนของโครงสร้าง ขนาดวัสดุ และรายละเอียดปลีกย่อยที่เกี่ยวกับโครงสร้างโดยรวมของบ้าน โดยอาจจะแบ่งย่อยได้ 3 หมวดกลุ่มที่ทำหน้าที่ดูแลการก่อสร้างบ้านของเรา ได้แก่
เป็นสาขาหนึ่งของ วิศวกรรมซึ่งถือเป็นแขนงแยกย่อยของสาขาวิศวกรรมโยธา (civil engineer) ซึ่งวิศวกรรมโยธาครอบคลุมไปถึงวิศวกรที่ควบคุมงานก่อสร้างอาคาร ควบคุมงานก่อสร้างประเภทอื่นเช่น สะพาน ถนน เขื่อน ในบางครั้งจึงมีการเรียกว่าวิศวกรโครงสร้างว่าวิศวกรโยธา โดยวิศวกรโครงสร้าง (Structural engineer) จะทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างที่รองรับหรือต้านหน่วยแรง ที่เกิดขึ้นในวัสดุ, อาคาร, เครื่องจักรกล, ยานพาหนะ โดยจะมุ่งเน้นไปความแข็งแรงเป็นหลัก และก่อสร้างได้จริง ตามที่สถาปนิกออกแบบ
คือ ผู้ทำหน้าที่วางแผน ออกแบบ ดูแลรักษา ตรวจสอบ ซ่อมบำรุง และใช้ความรู้ที่มีในการแก้ไขปัญหา เกี่ยวกับระบบไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือระบบวงจรต่าง ๆ ในการสร้างบ้านนั้นวิศวกรไฟฟ้าจะทำหน้าที่ออกแบบระบบไฟฟ้า กำหนดกำลังไฟให้พอกับเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ระบบแสงสว่าง และระบบไฟฟ้าฉุกเฉิน ระบบล่อฟ้า ระบบโทรศัพท์ โทรทัศน์วงจรปิด ระบบควบคุมอัตโนมัติ รวมไปถึงระบบการผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์ (solar energy) ตามแต่ความต้องการของเจ้าของบ้านที่ผ่านการออกแบบโดยสถาปนิก
คือ ผู้ที่มีความเข้าใจในหลักการพื้นฐานของหลักกลศาสตร์ พลศาสตร์ อุณหพลศาสตร์ กลศาสตร์ของไหลและพลังงานเป็นอย่างดีมีหน้าที่ออกแบบระบบปรับอากาศ ระบายอากาศ ระบบดับเพลิง ลิฟท์ บันไดเลื่อน ซึ่งในปัจจุบันมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกสมัยใหม่เพิ่มขึ้นมากมายที่สามารถนำมาใช้ในบ้าน เช่นระบบ smart home ซึ่งวิศวกรเครื่องกลจะมีหน้าที่ออกแบบจัดระบบกลไกภายในบ้านให้เข้ากันได้กับอุปกรณ์ภายในบ้าน
คือ ผู้ที่เข้าใจหลักการบูรณาการของหลักการทางวิทยาศาสตร์และทางวิศวกรรมเพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เพื่อได้น้ำ อากาศ และดินที่มีสุขภาพดี เหมาะสำหรับการอยู่อาศัยของเจ้าของบ้าน ในส่วนของการก่อสร้างบ้านนั้นจะมีหน้าที่หลักในการ ออกแบบระบบประปา ระบบการระบายน้ำเสีย การระบายน้ำฝน ระบบรดน้ำต้นไม้ ระบบดับเพลิง และระบบที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
โดยทั่วไปการว่าจ้างงานออกแบบบ้านมักจะเป็นการว่าจ้างกับสถาปนิกเบื้องต้นก่อน โดยสิ่งที่เจ้าของบ้านต้องเตรียมพร้อมคือไอเดียสำหรับบ้านในฝัน ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต งบประมาณหรือเงินในกระเป๋าไปคุยกับสถาปนิก โดยทั่วไปแล้วส่วนที่แยกออกมาจากค่าก่อสร้างที่เจ้าของบ้านต้องเผื่อไว้คือ ค่าวิชาชีพสถาปนิก ซึ่งประกอบด้วยค่าบริการออกแบบ ค่าเขียนแบบ ค่าคำนวนแบบโครงสร้าง ค่าวิศวกร ตลอดถึงค่าเซ็นต์แบบก่อสร้างที่ต้องเซ็นต์ร่วมกันระหว่างสถาปนิกและวิศวกร
หลักจากนั้นสถาปนิกซึ่งเป็นผู้นำทีมของงานออกแบบบ้านจะเป็นผู้จัดหาวิศวกรสาขาต่างๆ มาช่วยทำงาน ตามที่ตกลงกันในสัญญาว่าจ้าง ว่าด้วยขอบเขตการทำงานที่ตกลกกันไว้ว่ารวมหรือไม่รวมอะไรบ้าง โดยส่วนนี้จะรวมการขออนุญาตก่อสร้างหรือไม่ก็ตาม และจะมีการเข้ามาควบคุมงานก่อสร้างในรูปแบบใด เมื่อเราแบ่งหมวดหมู่การทำงานออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ สิ่งที่เจ้าของบ้านควรรู้ก็คือ ภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างบ้าน ซึ่งแต่ละภาคส่วนประกอบด้วยบุคคลากรสาขาต่างๆ จากวิชาชีพสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม โดยมีจำนวนมากน้อยขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละบ้านหรือโครงการ
ผู้ออกแบบ คือ ผู้ตีความคิดความฝันของเจ้าของบ้านให้กลายเป็นภาพ ซึ่งถูกคิดมาเป็นคอนเซ็ปต์ หลังจากนั้นจะออกแบบจนบ้านออกมาเป็นรูปเป็นร่าง โดยเริ่มแรกจะทำการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของเจ้าของบ้าน ทั้งความต้องการ ไลฟ์สไตล์ หรือความชื่นชอบส่วนตัวของเจ้าของบ้าน เพื่อนำมากำหนดเป็นฟังก์ชั่นการใช้งานของบ้าน (Function) พิจารณาไปพร้อมกับบริบท (Context) โดยจะดูโฉนดที่ดินประกอบ เพื่อวิเคราะห์ลักษณะภูมิศาสตร์ของบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของทิศทางของแสงและลม สุดท้ายงานออกแบบที่ดีต้องสัมพันธ์กับงบประมาณของเจ้าของบ้าน (Budgets) เพื่อนำมากำหนดสเปคต่างๆ ของบ้านให้เหมาะสม ซึ่งขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ออกแบบในขั้นตอนต่างๆ เป็นไปตามแต่ที่ตกลงกับเจ้าของบ้านซึ่งเป็นผู้ว่าจ้าง
ผู้รับเหมา คือ ผู้เป็นแรงงานสำคัญในการเปลี่ยนภาพในกระดาษที่ผู้ออกแบบได้จัดทำขึ้นให้เป็นบ้านของเรา และใช้ชีวตได้จริง โดยขอบเขตความรับผิดชอบเป็นไปตามแต่ตกลงกับเจ้าของบ้าน การทำงานของผู้รับเหมาจะมีสถาปนิกและวิศวะเป็นผู้ควบคุมและตรวจงาน เนื่องจากผู้รับเหมาส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ทั้งด้านสถาปัตย์หรือวิศวกรรม โดยจะมีการแบ่งแต่ละช่วงเวลาของการก่อสร้างตามลักษณะหรือรูปแบบของงานเช่น งานสถาปัตยกรรม (งานหลังคา พื้น ผนัง ประตู) งานระบบ (ไฟฟ้า ประปา ระบบบำบัดน้ำทิ้ง) และเก็บรายละเอียดอื่นๆ จนพร้อมส่งมอบบ้านให้กับเรา
ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง (construction manager) ทำหน้าที่ควบคุมงานที่ สถานที่ก่อสร้างเป็นหลัก ทำหน้าที่ตรวจสอบควบคุมงานก่อสร้างให้เป็นไปตามแบบ ประสานงานระหว่างผู้รับเหมาและสถาปนิก ให้ถูกต้องได้มาตรฐานความปลอดภัย นอกจากนี้แล้ว ผู้ควบคุมงานก่อสร้างอาจจะทำหน้าที่ตรวจสอบและประเมินความสำเร้จของงานให้สัมพันธ์กับการเบิกเงินจากผู้รับเหมาให้เป็นไปอย่างถูกต้อง
คือ ข้อความ ระเบียบวิธี ข้อบังคับ ที่ได้รับความเห็นชอบหรือยอมรับโดยสากล ถือเอาเป็นหลักเกณฑ์กำหนด สามารถนำมาเป็นตัวชี้วัดหรือบ่งชี้แนวทางปฏิบัติ ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด จนบรรลุความสำเร็จสูงสุดของงาน
เป็น มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับความแข็งแรงของโครงสร้างต่างๆ กำหนดโดยวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (ว.ส.ท.) เช่น มาตรฐานเกี่ยวกับคอนกรีต เหล็กเสริมคอนกรีต ความแข็งแรงของโครงสร้าง รวบรวมขึ้นเพื่อทำให้การก่อสร้างเป็นไปตามมาตรฐาน และมีความแข็งแรงปลอดภัยทั้งในระหว่างการก่อสร้างและภายหลังที่เจ้าของอาคารเข้าอยู่อาศัย
เป็น มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบบ้านกำกับดูแลโดย สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ เช่น เรื่องของการใช้พื้นที่และการกำหนดความแข็งแรงของอาคาร ทำให้ผู้อยู่อาศัยสามารถใช้งานอาคารได้อย่างปลอดภัยและสะดวกสบาย
เป็น มาตรฐานทั่วไปเกี่ยวกับการก่อสร้างและการทดสอบวัสดุที่นำมาใช้ สำหรับการอ้างอิงเมื่อก่อสร้างบ้าน เช่น การก่ออิฐต้องมีเสาเอ็นทับหลังทุกระยะกว้างเท่าไร สูงเท่าไร กำหนดโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง
เป็นแนวปฏิบัติหรือเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีที่ใช้ในงานก่อสร้าง การปฏิบัตินั้นต้องเป็นที่ยอมรับหรือถูกต้องและถูกรับรองโดยสมาชิกของอุตสาหกรรมนั้นๆหรือโดยหน่วยงานกำกับดูแล โดยหน่วยงานกำกับดูแลมาตรฐานอุตสาหกรรมก่อสร้างช่วยควบคุมปัญหาต่างๆเช่นความปลอดภัย คุณภาพวัสดุ และหลักการปฏิบัติงานที่ใช้ในงานก่อสร้าง
แต่ส่วนมากแล้วธุรกิจรับสร้างบ้านนั้นไม่ได้มีข้อกำหนดที่ชัดเจน แต่จะขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของลูกค้าเป็นหลัก ไม่เหมือนกับมาตรฐานในธุรกิจอื่นๆ เช่น โรงแรม ซึ่งจะมีการแบ่งระดับดาวไว้ และข้อกำหนดเพื่อแบ่งเกณฑ์ของแต่ละระดับดาว ทั้งนี้มาตรฐานของการให้บริการและระดับราคาค่าก่อสร้างจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท
เนื่องจากวัสดุแต่ละชนิดที่ใช้ในการก่อสร้าง มีคุณสมบัติ ข้อกำหนด และวิธีการติดตั้งที่แตกต่างกันออกไป จึงทำให้การกำหนดสเปควัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างบ้านมีรายละเอียดปลีกย่อยค่อนข้างมาก เพื่อควบคุมให้ได้วัสดุที่เหมาะสมกับบ้าน จึงมีมาตรฐานเข้ามาควบคุมเพื่อให้ผู้รับจ้างใช้งานได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และผู้ว่าจ้างได้บ้านคุ้มกับราคาที่จ่ายไป โดยแบ่งย่อยได้ดังนี้
เป็นมาตรฐานที่เป็นข้อกำหนดทางวิชาการที่ใช้ควบคุมการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตนำไปใช้ในควบคุมการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพ ในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุด หากวัสดุนั้นๆ ผ่าน มอก. ก็ถือว่ามีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับได้
เป็นมาตรฐานที่กำหนดว่าวัสดุชนิดไหน ใช้อย่างไร ควรนำมาใช้ตอนไหน และใช้กับงานประเภทไหน เพื่อให้ได้งานที่ศักยภาพสูงสุด เช่น การกำหนดวัสดุสำหรับใช้งานภายในบ้าน แต่หากมีการนำไปใช้ภายนอก จะถือว่าผิดวัถุประสงค์การใช้งาน และไม่ได้มาตรฐานตามคุณสมบัติของวัสดุนั้นๆ
เป็นมาตรฐานในการผลิตวัสดุออกมาใช้นั้น ทางผู้ผลิตจะมีการทดสอบความสามารถในการใช้งาน แล้วจึงกำหนดคุณสมบัติวัสดุเพื่อให้นำในการใช้งานได้ตามจุดประสงค์ และมีการบอกวิธีการติดตั้งไว้อย่างชัดเจน หากติดตั้งไม่ได้มาตรฐาน แม้วัสดุจะดีมากขนาดไหน ก็ทำงานไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด เช่น การรองรับกำลังอัด หรือการทนความชื้น
สุดท้ายที่อยากจะฝากไว้สำหรับเจ้าของบ้านทุกท่าน การสร้างบ้านในฝันให้ออกมาสวยงามนั้น มีส่วนที่เกี่ยวข้องมากมาย เพื่อให้สวยทั้งภายนอกและแข็งแรงเหมาะสมต่อการอยู่อาศัย การสร้างบ้านนั้นไม่เพียงแต่ต้องสวยจากภายนอกแต่ส่วนที่มองไม่เห็นก็มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมาก จึงจำเป็นต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทางมาทำงานร่วมกัน เพื่อให้ได้งานออกมาตรงตามมาตราฐาน ผู้เป็นเจ้าของบ้านจำเป็นต้องศึกษาข้อมูล เพื่อให้เข้าใจขบวนการทำงานและเพื่อให้สามารถสื่อสารกับบุคลากรหรือทีมงานก่อสร้างได้อย่างราบรื่น